บทความ

วิธีการเช็คยางรถยนต์

    เพราะช่วงหน้าฝนนั้นมีอุบัติเหตุที่เกิดจากถนนลื่น ถนนเปียกอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้ขับขี่ต้องหันมาใส่ใจกับการตรวจสอบคุณภาพยางรถยนต์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ อย่างการเช็กดอกยางรถยนต์เป็นประจำ ก็เป็นสิ่งที่คุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ และถ้าหากพบว่าดอกยางรถยนต์ของคุณมีความตื้น ก็ควรรีบเปลี่ยนยางโดยด่วน เพื่อความปลอดภัยกับทุกการขับขี่ของคุณ

วิธีการเช็คยางรถยนต์โดยปกติ
    ควรตรวจเช็คสภาพดอกยางทุก 6 เดือน หรือทุก 10,000 กิโลเมตร เพื่อตรวจดูว่าดอกยางเสื่อมไหม ดอกยางรถยนต์ยังเท่ากันหรือไม่ สำหรับการตรวจเช็คดอกยาง ควรสังเกตว่ายางรถยนต์ของเรามีดอกยางสึกหรอผิดปกติ หรือเหลือต่ำสุดที่ 1.6 มิลลิเมตร ดูได้จากบริเวณสะพานยางหรือบริเวณที่มีลักษณะเป็นสันนูนที่ร่องยาง หากเช็คดอกยางแล้วพบว่ายางสึกจนสามารถมองสะพานได้แล้ว หรือยางรถยนต์มีรอยแตกร้าว แปลว่ายางเส้นนั้นหมดอายุการใช้งานแล้วและเป็นถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนยางรถยนต์เส้นใหม่แล้ว

บทความ

หาก “รถ EV” ลุยน้ำท่วม , ฝนตกหนัก จะพังหรือเสี่ยงไฟช็อตหรือไม่?

      หลากหลายคนที่ใช้รถยนต์ EV หรือกำลังตัดสินใจที่จะซื้อ มักมีความสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน เนื่องจากสภาพท้องถนนในประเทศไทยที่น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ อาจทำให้ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากกว่าประเทศอื่นๆ

     ทุกคนจะรู้กันดีว่าไฟฟ้ากับน้ำเป็นคู่กัดกันมายาวนาน จากเหตุอันตรายและเคสต่างๆ แน่นอนว่ามาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องถูกนำคิดและคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว

     แต่ไม่ได้แปลว่าจะปลอดภัย 100% เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าต้องลุยน้ำหรือจอดแช่ในน้ำ มีปัจจัยหลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการขับขี่จริง ความสูงต่ำของพื้นที่ขับขี่ และกระแสความแรงของน้ำต่างๆที่อาจเป็นปัจจัยทำให้น้ำเข้าสู่รถในส่วนต่างๆ
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ได้การันตีมีการทดสอบการกันน้ำในระดับ 50 เซนติเมตร เป็นเวลา 30 นาที แต่น้ำก็ไม่สามารถเข้าไปในแบตเตอรี่ได้

     ยกตัวอย่างมาตรฐานการกันน้ำของมอเตอร์ไฟฟ้า หรือกล่องควบคุม มักจะอยู่ที่ IP67 ซึ่งต้องเช็กกันอีกทีว่าสามารถกันน้ำกระเด็น , ลุยน้ำชั่วคราว ซึ่งแปลว่า รถ EV” ไม่สามารถลุยน้ำได้ ซึ่งหากจำเป็นต้องใช้งานจริงก็คงไม่มีปัญหา แต่ไม่ถึงกับสามารถจอดแช่น้ำได้

     สถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงนี้ ในส่วนของการชาร์จไฟกับรถ EV เสียบสายชาร์จก่อนฝนตก และสามารถชาร์จได้กลางสายฝนโดยไม่มีปัญหา แต่หากฝนตกอยู่แล้วแนะนำให้รอฝนหยุดก่อนจะเสียบชาร์จจะปลอดภัยกว่า

     เกรท วอลล์ มอเตอร์ ระบุว่า รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ตามปกติแม้โดนฝน เพราะมอเตอร์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ต่างได้รับการกป้องเป็นอย่างดีด้วยฉนวนไฟฟ้า รวมถึงมีเซ็นเซอร์ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว และระบบป้องกันการลัดวงจรลงดิน (Ground Fault Protection)

     ส่วนรายละเอียดต่างๆว่า ORA Good Cat EV สามารถขับลุยน้ำท่วมได้หรือไม่ แช่น้ำได้นานขนาดไหน กี่นาที มีดังนี้

   ORA Good Cat EV มีกล่องหุ้มเซลล์แบตเตอรี่ที่แข็งแรง รองรับความปลอดภัยทางไฟฟ้า 5 ด้าน ได้แก่ การป้องกันน้ำ การกัดกร่อน การชน การกระแทก และการเกิดเพลิงไหม้ โดยหากเกิดการชนที่กระทบแบตเตอรี่ รถยนต์จะดับภายใน 50 มิลลิวินาทีเพื่อความปลอดภัย และยังมีการควบคุมอุณภูมิและการระบายความร้อนที่ดี 

    EV สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในขณะฝนตกได้ โดยแท่นชาร์จจากหลายบริษัทได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีตามมาตรฐาน และมีระบบป้องกันหรือที่ครอบซึ่งจะมีช่องที่สามารถระบายน้ำได้ ถึงแม้ในช่วงฝนตกหรือมีน้ำขังที่เต้ารับ ก็วางใจได้ว่าจะไม่มีน้ำขังอยู่ที่บริเวณหัวประจุ และมีการติดตั้งระบบตัดไฟรั่วและลงสายดินไว้เช่นกัน

    ตัวรถส่วนใหญ่ยังมีซีลกันน้ำที่สามารถกันฝุ่นและกันน้ำสาดได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันน้ำฝนกระเด็นเข้าไปยังขั้วชาร์จไฟฟ้าได้  รวมถึงระบบเซ็นเซอร์จะตัดกำลังไฟฟ้าทันทีหากพบกระแสไฟรั่วไหลในวงจร  เพียงแต่ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ด้วยการสำรวจบริเวณแท่นชาร์จ หัวประจุ และสายไฟทุกครั้งก่อนชาร์จว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ รวมถึงเช็ดทำความสะอาดบริเวณจุดที่ชาร์จให้แห้งก่อนปิดฝา

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ยังรายงานว่า รถยนต์ไฟฟ้า EV สามารถขับได้อย่างปลอดภัยในสภาวะน้ำท่วม

     ระบบในรถได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีและป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบ เพราะมีการทดสอบ IP Rating (Ingress Protection) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานในการป้องกันของแข็งและของเหลวเล็ดลอดเข้าภายในตัวรถ ซึ่งค่ามาตรฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยทั่วไปอยู่ที่ IP67 การันตีว่า EV สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมไม่เกิน 1 เมตรได้ ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที โดย ORA Good Cat ใช้แบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐาน IP67 เช่นกัน โดยสามารถกันน้ำจากการแช่น้ำความลึกไม่เกิน 1 เมตรได้สูงสุด 30 นาที และยังสามารถกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์ และ EV ยังสามารถขับลุยน้ำได้ลึกถึง 40 เซ็นติเมตร

    หากจำเป็นต้องขับรถขณะน้ำท่วม ผู้ใช้งานควรเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น ค่อยๆ ขับโดยใช้ความเร็วต่ำ คอยระวังสิ่งกีดขวางบนท้องถนน เช่น ท่อนไม้ หรือก้อนหิน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับแบตเตอรี่ได้ และพยายามไม่จอดรถค้างไว้เป็นเวลานาน

บทความ

5 เทคนิคขับรถให้ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

      1. เปิดไฟหน้า และไฟท้ายรถ

          ในช่วงที่ฝนตกหนักๆ หรือโดยเฉพาะตกในช่วงกลางคืนส่งผลให้ทัศนวิสัยวิสัยในการมองเห็นแย่ยิ่งขึ้นกว่าปกติมาก ดังนั้นการเปิดไฟหน้า และไฟท้ายรถช่วยให้เรามองเห็นรถคันหน้า และรถคันหลังมองเห็นเราได้มากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น ซึ่งการเปิดสัญญาณไฟหน้านั้น มีเทคนิคในการปฎิบัติดังนี้
     
   • การเปิดไฟหน้ารถควรเปิดไฟปกติ หรือหากมีไฟตัดหมอกสามารถใช้ได้ครับ แต่มีข้อควรระวังคือไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในระหว่างที่ขับรถตอนฝนตก เนื่องจากจะทำให้รถที่ขับตามมา มองไม่เห็นว่าเรากำลังจอด หรือขับอยู่ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายได้
       
 • ไม่ควรใช้ไฟสูง เพราะแสงไฟจะส่องแยงตารถที่ขับสวนมา ทำให้การมองเห็นพล่ามั่วไม่ชัด อาจเป็นสาเหตุนำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ครับ

  1. เปิดที่ปัดน้ำฝนให้แรงพอดี

         กระจกหน้ารถถือเป็นเสมือนดวงตาของเรา ดังนั้นเราควรเปิดที่ปัดน้ำฝนให้พอดีสัมพันธ์กับความแรงและปริมาณของฝนที่ตกลงมา เพื่อให้กระจกสะอาดเพื่อให้เราสามารถมองเห็นเส้นทางได้ชัดมากขึ้น

  1. รักษาระยะห่างกับรถคันหน้าให้พอดี

         เมื่อเวลาฝนตกนั้น สิ่งที่ส่งผลตามเลยคือถนนลื่นมากขึ้นครับ ดังนั้นเราควรเว้นระยะห่างกับคันหน้ามากกว่าปกติประมาณ 2 เท่า เพื่อเพิ่มระยะเบรกของเรา ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถหยุดรถได้ทัน ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ครับ

  1. ควบคุมความเร็วในการขับขี่

          ในขณะที่ฝนตกถนนลื่นหากเราขับรถในความเร็วสูง ไม่ระมัดระวังก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้นครับ เพราะรถมีโอกาสที่จะเสียการควบคุม ลื่นไถลได้ง่าย ดังนั้นเราควรรักษาความเร็วให้อยู่ที่ประมาณ 60 กม./ชม. รวมทั้งปฎิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยมากขึ้นครับ

  1. หลีกเลี่ยงบริเวณน้ำท่วมขัง

              ในช่วงหน้าฝนหลายๆ พื้นที่อาจจะมีน้ำท่วมขังเกิดขึ้นได้ แนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงหรือรถความเร็วลงในบริเวณดังกล่าว เพราะหากน้ำกระเด็นเข้าเครื่องยนต์อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับรถยนต์ได้ครับ

บทความ

ตัวช่วยแก้ง่วง ระหว่างขับรถทางไกล

  1. ล้างหน้าด้วยน้ำเย็น หากผู้ขับขี่รู้สึกง่วงหรือเหนื่อยล้าขณะเดินทาง เราขอแนะนำให้ลองแวะปั๊มน้ำมันข้างทาง แวะล้างมือล้างหน้าให้รู้สึกกระปรี้กะเปร่า หรือยังไม่ค่อยหายง่วงดีให้ใช้น้ำเย็นล้างหน้าแล้วเดินเล่นสักพักค่อยกลับไปขับรถต่อ
  2. ก่อนออกเดินทางอย่าลืมพกผ้าเย็นหรือยาดม เลือกกลิ่นสมุนไพรเย็น ๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่นขณะขับขี่
  3. จอดแวะยืดเส้นยืดสาย การขับรถนั่งท่าเดิมนาน ๆ อาจจะทำให้ปวดหลัง ปวดเท้า แล้วยังง่วงอีกด้วย จอดแวะข้างทางยืดแขนขาสัก 5-10 นาที พอให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จะช่วยไล่ความง่วงได้เป็นอย่างดี
  4. หากยังง่วงอยู่อีกลองหาเครื่องดื่ม ชา กาแฟ เย็น ๆ มาช่วยกระตุ้นเพื่อให้สมองตื่นตัว
  5. ถ้าไม่ดื่มกาแฟ แนะนำให้เลือกเครื่องดื่มชูกำลังแทน ค่อย ๆ จิบทีละนิดก่อน เพื่อให้สมองตื่นตัว
  6. กินผลไม้เปรี้ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะขาม มะม่วงเปรี้ยว ถือเป็นตัวช่วยชั้นดีระหว่างขับรถทางไกล
  7. ลองเปิดเพลงสนุก ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศระหว่างการขับรถให้ไม่น่าเบื่อ เท่านี้ก็ช่วยให้รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แถมยังสนุกอีกดเวย
  8. หากมีเพื่อนมาด้วย หาเรื่องมานั่งคุยกันไปเรื่อย ๆ ตลอดการเดินทาง ก็ช่วยให้เราหายง่วงไปได้
  9.  ฟังวิทยุหรือพอดแคสต์ เลือกรายการวิทยุหรือพอดแคสต์ที่ชอบ ค่อย ๆ ฟังเรื่องเล่าไปเรื่อยๆ ก็เหมือนมีเพื่อนคุยด้วยระหว่างทาง ช่วยดึงสมาธิได้เป็นอย่างดี หายง่วงและขับรถได้แบบมีสติแน่นอน
  10. หากลองมาทุกข้อแล้วยังง่วงอยู่ ควรจอดแวะงีบสัก 25-30 นาที ไม่ควรฝืนขับต่อเพราะอาจทำให้ผู้ขับขี่มีอาการหลับในและเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
บทความ

เบรกมือรถยนต์ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

       การลืมดึงเบรกมือเป็นอีกหนึ่งความประมาทเพียงเล็กน้อยที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ รถไหลไปชนกับรถคันอื่นหรือชนสิ่งกีดขวางจนได้รับความเสียหาย การดึงเบรกมือจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อความปลอดภัย วันนี้เราจะมาแนะนำการใช้เบรกมืออย่างถูกวิธี มีขั้นตอนอะไรบ้างไปดูกันเลย

เบรกมือรถยนต์ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

 เบรกมือมีกี่แบบ?

1. แบบคันโยก ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด จนมีเสียงดังแกร๊ก ถ้ายกเบรกมือขึ้นไม่ได้อีก แสดงว่าดึงเบรกมือจนสุดแล้วนั่นเอง

2. แบบสวิตช์หรือปุ่มกด กดหรือดึงสวิตช์ จะมีสัญลักษณ์ตัว (P) ที่ตัวปุ่มเมื่อมีการเปิดใช้งาน

ควรใช้เบรกมือตอนไหน?

1. เวลาจอดรถ เพื่อความปลอดภัยควรดึงเบรกมือทุกครั้ง 

2. กรณีฉุกเฉิน เช่นเบรกเท้ามีปัญหา หากต้องใช้เบรกมือแทน ควรระวังอย่างยิ่ง เพราะเบรกมือสามารถเบรกได้แค่ล้อหลังเท่านั้น หากดึงเบรกมือแล้วล้อรถฟรี จะทำให้รถเสียการควบคุมได้

3. ระหว่างจอดรถรอไฟแดง เพื่อป้องกันรถไหล เนื่องจากพื้นถนนไม่สม่ำเสมอหรือลาดเอียง

4. กรณีจอดอยู่บนทางลาดชัน หรือตีนสะพาน เพื่อป้องกันไม่ให้รถไหลไปชนคันข้างหน้าหรือข้างหลังได้

บทความ

รถจอดนิ่ง ทำไมพัดลมแอร์ทำงาน ?

          รถยนต์ในปัจจุบันอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า เทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ใช้รถอย่างเราอาจยังไม่คุ้นชินกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องมาตรการ EV 3.0 ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจเปลี่ยนรถ ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี เพราะจากรถที่มีระบบอำนวยความสะดวก หรือความปลอดภัยในระดับพื้นฐาน พอมาเจอระบบใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ จึงสับสน และกังวล เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างไปจากรถยนต์ที่เคยสัมผัสมาตลอด ลองมาดูว่ามีเทคโนโลยีอะไรบ้าง ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด และรู้สึกกังวลใจในการใช้งาน

รถจอดเฉยๆ แต่ระบบไฟฟ้าทำงาน ?

        ในรถยนต์ปกติทั่วไปนั้น เราเคยชินว่าเมื่อลอครถจอดเอาไว้แล้ว โดยปกติรถจอดนิ่ง ต้องไม่มีระบบใดทำงาน หรือส่งเสียงให้เรารู้สึก ไม่ว่าจะเป็นพัดลมไฟฟ้า ระบบแอร์ทำงาน มีน้ำแอร์หยด หรือมีเสียงอะไรดังมาจากตัวรถ ถ้าจะมีก็ควรจะมีแต่ระบบกันขโมยทำงานเพียงอย่างเดียว คราวนี้รถยนต์ที่ใช้แบทเตอรี และต้องมีการชาร์จไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถ BEV ที่เราคุ้นเคยกันว่า “รถไฟฟ้า 100 %” รถ FHEV หรือ “รถพลัก-อิน ไฮบริด” รถกลุ่มนี้ ต้องมีการชาร์จไฟ หรือประจุแบทเตอรี ประเด็นนี้ที่ทำให้หลายคนสงสัย เพราะจอดรถชาร์จตอนกลางคืน แล้วได้ยินเสียงเหมือนพัดลมทำงาน ได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ทำงาน หรือเห็นมีร่องรอยของน้ำหยดลงที่พื้น

       ทำไมรถดับเครื่องแล้วล็อครถไว้ ระบบเหล่านี้จึงทำงาน การชาร์จแบทเตอรีรถยนต์นั้น ก็ไม่ต่างอะไรจากการชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่ออุณหภูมิแบทเตอรีร้อนมากขึ้น ระบบก็จะมีการลดกระแสในการชาร์จ เพื่อลดอุณหภูมิของแบทเตอรี เพื่อป้องกันความเสียหาย หรือการลุกไหม้ 

       ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ แบทเตอรีเมื่อประจุถึง 80 % ระยะเวลาในการชาร์จจะนานขึ้น เพื่อลดอุณหภูมิของแบทเตอรี ในรถยนต์ BEV และ PHEV ก็เช่นกัน แต่การอัดประจุไฟฟ้าเข้าแบทเตอรีรถยนต์นั้น อุณหภูมิของแบทเตอรีจะสูงมาก เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งเรื่องของการเสื่อมสภาพ และปัญหาความร้อนอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นลุกไหม้ได้ 

ความเย็นจากระบบแอร์ คือ คำตอบ

      ทางแก้ไข คือ การลดกำลังไฟในการชาร์จลง แต่คงไม่เหมาะกับการใช้งาน เพราะเราคงต้องใช้เวลาชาร์จกันมากขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น การแก้ไขที่ถูกต้อง คือ ต้องมีการระบายความร้อนของแบทเตอรี เป็นการควบคุมอุณหภูมิของแบทเตอรีให้อยู่ในอุณภูมิที่เหมาะสม ถ้าเป็นประเทศเมืองร้อนอย่างบ้านเรา จะใช้การระบายความร้อนผ่านระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ หรือใช้ความเย็นจากระบบแอร์มาช่วยในการระบายความร้อนของแบทเตอรี ส่วนในเมืองหนาวนั้นต้องมีการอุ่นแบทเตอรี เพื่อให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการชาร์จ การอุ่นนั้นระบบจะต้องมีการเปิดการทำงานของระบบฮีทเตอร์เพื่อให้เกิดความร้อน 

       ดังนั้น รถยนต์ในกลุ่มนี้แม้เราจอดไว้เฉยๆ แต่มีการเสียบชาร์จ ก็ไม่แปลกที่จะมีบางระบบทำงานดังที่กล่าวมา หรือบางครั้ง รถที่มีระบบการอัพเดทข้อมูลผ่านอินเตอร์เนท เมื่อมีการอัพเดทอัตโนมัติ อาจจะมีการติดสว่างของหน้าจอ หรือมีไฟกะพริบขึ้นมา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด จะได้ไม่กังวลใจในการทำงานแบบอัตโนมัติของตัวรถ 

บทความ

ขาดต่อใบขับขี่รถกี่ปี ถึงต้องสอบใหม่

ใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี

     กรณีที่ใบขับขี่ขาดต่อ หมดอายุไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่หมดอายุ สามารถที่จะทำเรื่องขอใบขี่ใหม่ได้ที่กรมขนส่ง โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ และ ไม่ต้องสอบ เพียงแต่มีค่าใช้จ่ายเรื่องของค่าธรรมเนียมการต่ออายุตามปกติเท่านั้น โดยค่าธรรมเนียมใบขับขี่รถยนต์อยู่ที่ 505 บาท

ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี

     สำหรับใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี นั้นจะต้องทำการสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam จำนวน 50 ข้อ ใหม่อีกครั้ง โดยต้องทำคะแนนให้ได้ 90% คือต้องทำข้อสอบได้จำนวน 45 ข้อ จากทั้งหมด 50 ข้อนั่นเอง แต่ถ้าไม่ผ่านการทดสอบจะต้องทำการทดสอบใหม่อีกครั้ง

ใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป

     แต่ถ้าหากใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไปนั้นจะต้องเข้ารับการอบรม , ทำการสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam และการสอบขับรถ เหมือนกับตอนที่ทำใบขับขี่ใหม่ครั้งแรก

บทความ

วิธีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกต้อง

1.อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเหลือ 0%

     หลีกเลี่ยงการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจนแบตเตอรี่หมดเกลี้ยง 0% แล้วถึงจะทำการชาร์จไฟ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ทำงานหนักจนร้อนเกินไปเมื่อทำการชาร์จไฟฟ้า และจะส่งผลทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมได้ในที่สุด ทางที่ดีพยายามรักษาแบตเตอรี่รถให้อยู่ที่ 20% แล้วทำการชาร์จจะดีที่สุด

2.ไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม 100%

     การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้เต็ม 100% เสี่ยงต่อการที่จะทำให้แบตเตอรี่ของรถเสื่อมเร็ว โดยมีผลการทดลองมาแล้วว่าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมคือ ควรชาร์จไฟแบตเตอรี่รถให้อยู่ระหว่าง 80%-90% เพื่อระบบ Regenerative braking (ระบบเบรกเพื่อชาร์จไฟ) สามารถทำงานได้ทันที และยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าเบรกอีกด้วย

3.เลี่ยงการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบริเวณที่อุณหภูมิสูง

     หากเราทำการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากลางแจ้งที่มีอุณหภูมิสูง อากาศที่ร้อนจัด จะเสี่ยงที่จะทำให้อายุของแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมได้ไวขึ้น ควรจอดชาร์จไฟในพื้นที่ร่มเพื่อให้การชาร์จแบตเตอรี่มีประสิทธิภาพที่ดี รวมไปถึงการเลี่ยงการจอดรถยนต์ตากแดดเป็นระยะเวลานานด้วย

4.ไม่ควรชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระบบ DC บ่อย

     การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระบบ DC นั้นเป็นการช่วยทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเต็มได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาก็จริง แต่ก็อาจทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมได้ไวขึ้น หากชาร์จไฟฟ้าระบบ DC บ่อยจนเกินไป เนื่องจากขณะที่ชาร์จไฟระบบ DC จะเกิดอุณหภูมิสูง ทำให้แบตเตอรี่ต้องทำงานหนัก ยิ่งหากเจออากาศที่สูงด้วยแล้ว ก็อาจจะไม่ส่งผลดีกับแบตเตอรี่รถนั้นเอง

บทความ

เกิดภัยธรรมชาติแบบไหน ที่ประกันภัยรถยนต์คุ้มครอง

      ในประเทศไทยมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นตามฤดูกาล ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจนกลายเป็นภัยพิบัติ อาทิ อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง  และไฟป่า เป็นต้น แล้วภัยธรรมชาติแบบไหนบ้างที่บริษัทประกันภัยรถยนต์จะทำหน้าที่คุ้มครองผู้ขับขี่และรถยนต์ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงบ้าง

     1.อุทกภัย ทุกปีจะเกิดฝนตกน้ำท่วม รถยนต์จมน้ำจำนวนมาก เสียหายน้อยจนถึงหนัก หากทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ถือเป็นประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มครองมากที่สุด และประกันชั้น 2+ ของบางแห่งก็คุ้มครองด้วยเช่นกัน เคลมความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ  

    2.วาตภัย ลมพายุที่หอบทั้งลมฝน ลูกเห็บ ความแรงของพายุสามารถถอนโค่นต้นไม้ใหญ่ได้ ยังทำให้ตัวบ้านพังเสียหายในพริบตา ส่วนรถยนต์ที่เสียหายก็จะได้รับการคุ้มครองจากประกันชั้น 1 และประกันรถยนต์ชั้น 2+ รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ และประกันตัวผู้ขับขี่

   3.แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคเหนือ เพราะมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังหลายจุดพร้อมจะเขย่าแผ่นดินได้เสมอ ระดับความสั่นสะเทือนมีสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน กรณีรถยนต์ประสบเหตุแผ่นดินไหว ทำประกันชั้น 1 และประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะได้รับการดูแลทั้งชีวิตและทรัพย์สินตามที่ระบุในกรมธรรม์ทุกประการ

   4.ดินโคลนถล่ม ทั้งก้อนหินดินโคลนที่ไหลหรือร่วงหล่นลงมาจากที่สูง เป็นอันตรายต่อการขับขี่บนท้องถนน หากรถเสียหายจากดินโคลนถล่ม ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 อุ่นใจกว่า ครอบคลุมความคุ้มครองเรื่องดินโคลนถล่มแน่นอน

   5.อัคคีภัย ไฟป่าที่เกิดจากความแห้งแล้งธรรมชาติ กิ่งไม้เสียดสีกัน หรือฟ้าผ่าลงใส่ทำให้เกิดไฟไหม้ เมื่อรถยนต์คันโปรดต้องประสบเหตุภัย ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็ตามมาคุ้มครองให้ บางบริษัทประกันภัยยังมีประกันชั้น 2 และ 2+ ครอบคลุมไฟไหม้ด้วยเช่นกัน ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไข

   6.อุกกาบาต หรือเศษซากกระสวยอวกาศจากนอกโลกตกใส่รถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่เกิดจากภัยธรรมชาติ แม้โอกาสเกิดขึ้นเกือบเป็นศูนย์ แต่ประกันชั้น 1 ก็ครอบคลุมไปถึง รับรองเคลมให้

     สรุปแล้ว ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองอย่างครบถ้วน ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของเราและของคู่กรณี ขณะที่การทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2+ ถือว่ามีความคุ้มครองที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน แต่จำกัดโดยทุนประกันและมีเงื่อนไข ขอให้ศึกษารายละเอียดจากบริษัททำประกันภัยอีกครั้ง

      กรณีที่บริษัทประกันภัยไม่สามารถปฏิบัติตามกรมธรรม์ที่ทำกันไว้ ต้องพิจารณาอย่างละเอียดหากพบข้อสงสัย เช่น  พบว่ามีความประมาทเลินเล่อ เจตนาหรือจงใจไม่หลบเลี่ยงภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งที่รู้ว่าเกิดขึ้นและเผชิญหน้า เช่น พยายามขับรถยนต์ฝ่าเข้าพื้นที่น้ำท่วมสูง ดินโคลนถล่ม แผ่นดินแยกที่เกิดจากแผ่นดินไหว ต้นไม้ล้มขวาง รวมถึงการจัดฉากความเสียหายจากภัยพิบัติจริงแล้วแจ้งเหตุที่เป็นเท็จ เพื่อหวังเคลมประกัน

      กรณีคนขับขี่นำรถยนต์ของผู้อื่นที่ทำประกันมาขับขี่โดยไม่มีใบขับขี่ หรือเมาสุรา เสพยาเสพติดขณะขับขี่ หรือนำรถไปก่อคดีต่าง ๆ และประสบเหตุภัยพิบัติ เมื่อตรวจสอบพบจะถูกบริษัทประกันแจ้งดำเนินคดีอาญาในข้อหาให้ความเท็จเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากประกันวินาศภัย เป็นต้น

    ดังนั้น รถยนต์ของเราอาจจะเป็นคันหนึ่งที่ประสบภัยภัยพิบัติโดยคาดไม่ถึง การเลือกทำประกันรถยนต์ที่คุ้มครองเหตุภัยพิบัติธรรมชาติไว้ด้วยถือเป็นทางเลือกที่ดี มีความสบายใจ เกิดความคุ้มค่า ช่วยคุ้มครองความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินตลอด 24 ชั่วโมง

บทความ

แนะนำวิธีการวางแผนการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

      การวางแผนการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการวางแผนการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

     1.ตรวจสอบระยะทางวิ่งสูงสุดของรถยนต์ไฟฟ้า
       ระยะทางวิ่งสูงสุดของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป ผู้ใช้ควรตรวจสอบระยะทางวิ่งสูงสุดของรถยนต์ไฟฟ้าของตนก่อนวางแผนการเดินทาง เพื่อให้แน่ใจว่ามีระยะทางเพียงพอที่จะเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง

      2.ค้นหาสถานีชาร์จตลอดเส้นทาง
      ควรค้นหาสถานีชาร์จตลอดเส้นทางการเดินทาง สามารถใช้แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จ เช่น PlugShare หรือ saifah เพื่อค้นหาสถานีชาร์จที่ใกล้เคียงและข้อมูลเกี่ยวกับประเภทหัวชาร์จ สถานะการใช้งาน และราคา

     3.วางแผนเส้นทาง
      ผู้ใช้สามารถวางแผนเส้นทางโดยระบุจุดเริ่มต้นและจุดหมายปลายทางในแอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จ แอปพลิเคชันจะแสดงเส้นทางพร้อมจุดชาร์จที่แนะนำตามระยะทางและกำลังไฟที่ต้องการ

     4.เผื่อเวลาในการชาร์จ
      ผู้ใช้ควรเผื่อเวลาในการชาร์จให้เพียงพอ โดยทั่วไปแล้ว การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจากระดับต่ำสุดถึงเต็มจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเภทของหัวชาร์จและกำลังไฟของสถานีชาร์จ

     5.คำนึงถึงสภาพอากาศ
      สภาพอากาศอาจส่งผลต่อระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าจะวิ่งได้ระยะทางน้อยกว่าในสภาพอากาศที่หนาวเย็น

     6.ตรวจสอบสภาพรถ
      ก่อนออกเดินทาง ผู้ใช้ควรตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบระดับแบตเตอรี่ เติมลมยาง และตรวจสอบระบบชาร์จ

📍นัดหมาย ติดต่อนำรถเข้าศูนย์บริการ ติดต่อได้ที่  ☎️ 099-310-8265

error: Content is protected !!