บทความ

6 ข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV

1. ดูความจุของแบตเตอรี่กับระยะทางที่วิ่งได้ไกลที่สุด

     เช่น  รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% หรือที่เรียกว่าแบบ BEV (Battery Electric Vehicle) ถ้าใช้แบตเตอรี่ความจุ 60-90 kW จะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 338-473 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งถ้าหากอยากได้รถที่วิ่งระยะทางไกลมากขึ้น ก็ต้องเลือกรุ่นที่แบตมีความจุสูงมากขึ้นและแน่นอนว่าราคาของรถก็จะสูงตามขนาดความจุของแบตเตอรี่

2. ดูระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่

     รถ EV แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอร์รี่เต็มไม่เท่ากัน ตามขนาดความจุของแบตเตอรี่ เช่น  ชาร์จแบบธรรมดาที่ใช้ไฟบ้านเป็นกระแสสลับ (AC) ใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม. ชาร์จแบบรวดเร็วจากตู้ไฟฟ้า EV Charger ใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชม.  ชาร์จแบบด่วนตามสถานีชาร์จนอกบ้านที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที

3. ใช้รถ EV ต้องเตรียมที่ชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน

    เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของไทยในเรื่องสถานีชาร์จยังไม่ครอบคลุม หรือหากมีสถานีชาร์จอยู่ใกล้ แต่อาจไม่มีหัวชาร์จที่ใช้ได้กับรถ EV ที่ใช้ เพราะมาตรฐานหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน เพื่อความสะดวกอาจติดตั้งที่ชาร์จไฟที่บ้าน

4. ดูค่าเชื้อเพลิงที่ต้องจ่าย

    เมื่อเปรียบเทียบค่าเชื้อเพลิงระหว่างค่าน้ำมันกับค่าชาร์จไฟฟ้า พบว่า ค่าชาร์จไฟฟ้าของรถ EV ประหยัดกว่าค่าเติมน้ำมัน  โดยค่าเติมน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.50 – 3 บาท/ กิโลเมตร ขณะที่ค่าชาร์จไฟรถ EV อยู่เฉลี่ยอยู่ที่ 0.26-0.50 บาท / กิโลเมตร จะเห็นได้ว่ารถ EV ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ารถน้ำมันหลายเท่าตัว

5. ดูเรื่องการซ่อมบำรุง

    เมื่อเปรียบเทียบค่าซ่อมบำรุงระหว่างรถที่ใช้น้ำมันกับรถ EV พบว่ารถ EV ที่ใช้ไฟฟ้า 100% ไม่มีเครื่องยนต์ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิก ทำให้ค่าซ่อมบำรุงและค่าดูแลรักษาต่ำกว่ารถที่ใช้น้ำมัน เฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 50% ขณะที่รถน้ำมันต้องการการบำรุงรักษาที่มากกว่าเพราะเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย

6. ดูแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและมีบริการหลังการขาย

    เนื่องจากรถไฟฟ้าเพิ่งเข้ามาในไทยไม่นาน การพิจารณาเลือกแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีศูนย์บริการหลังจากขายที่ได้มาตรฐาน สามารถช่วยเหลือเวลารถเกิดมีปัญหา เพราะไม่สามารถซ่อมรถ EV นอกศูนย์บริการได้

📍หากสนใจรถยนต์ไฟฟ้า ติดต่อได้ที่ GWM Krabi⚡

บทความ

รถยนต์ไฟฟ้า เติมลมเท่าไหร่ดี ?

     แรงดันลมยางสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป (ICE) จะขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของรถยนต์ และ ขนาดยางที่ใช้ อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างข้อกำหนดแรงดันลมยางสำหรับรถยนต์ EV และรถยนต์ ICE ที่ควรทราบ:
⚡รถ EVs จะหนักกว่ารถเติมน้ำมัน (ICE) เนื่องจาก ชุดแบตเตอรี่ที่หนัก เป็นผลให้ต้องการแรงดันลมยางที่สูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อรองรับน้ำหนักและรักษาการควบคุมและประสิทธิภาพที่เหมาะสม

⚡รถยนต์ไฟฟ้ายังมีลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างจากรถ ICE ด้วยแรงบิดทันทีและการเบรกแบบใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสึกหรอของยาง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตรวจสอบและรักษาแรงดันลมยางในรถยนต์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

⚡รถยนต์ไฟฟ้ามักจะมียางต้านทานการหมุนต่ำ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและระยะทางสูงสุด ยางเหล่านี้อาจต้องใช้แรงดันลมยางสูงกว่ายางทั่วไปเล็กน้อยเพื่อรักษาสมรรถนะ

    โดยรวมแล้ว แม้ว่าความต้องการแรงดันลมยางสำหรับรถยนต์ EV และ ICE อาจใกล้เคียงกัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตและปรับแรงดันตามน้ำหนักของรถและสภาพการขับขี่ การบำรุงรักษายางเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยานพาหนะทั้งสองประเภท เพื่อความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และสมรรถนะสูงสุด

    สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุด ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำหนักของรถ สไตล์การขับขี่ และสภาพอากาศ ตัวอย่างเช่น ในสภาพอากาศหนาวเย็น แรงดันลมยางอาจลดลงและจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสม

    แนะนำให้ตรวจสอบแรงดันลมยางเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และปรับค่าตามความจำเป็นเพื่อให้มั่นใจในการควบคุมรถ ความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลมยางที่เติมลมมากเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการควบคุมรถ การเบรก และการสึกหรอของยาง รวมทั้งลดระยะทางและประสิทธิภาพของรถด้วย

บทความ

กระบี่ ตรัง ภูเก็ต จุดชาร์จรถไฟฟ้าอันดามัน ขับไกล ไม่มีสะดุด

สาวก EV ที่กำลังวางแผนไปเที่ยว วันหยุดยาว ในช่วง ปีใหม่ 2566  หลายคนอาจจะมีแผนเดินทางขับรถไปเที่ยวในภาคใต้ เเต่ยังกังวลเรื่องของ สถานีชาร์จไฟ ที่ยังไม่แพร่หลาย วันนี้ทาง GWM Krabi มาบอกพิกัดสถานี ชาร์จรถไฟฟ้า ว่ามีตรงไหนบ้าง ไปเช็คกันเลย

ระบี่

  • PTT EV STATION สาขาสนามบินกระบี่  จ.กระบี่ รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMo / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก
  • EA ANYWHERE สาขา พีชลากูน่า รีสอร์ท จ. กระบี่ รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PEA VOLTA สาขาบางจาก เมืองกระบี่ จ.กระบี่ รองรับหัวชาร์จแบบ CHAdeMO / CCs2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PEA VOLTA สาขาบางจาก คลองท่อม จ.กระบี่ รองรับหัวชาร์จแบบ CHAdeMO / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก 
  • Elex by EGAT สาขาสถานีบริการน้ำมัน PT กระบี่ 2 จ.กระบี่ รองรับหัวชาร์จแบบ CCS2 เท่านั้น ดูแผนที่ > คลิก

ตรัง

  • PEA VOLTA สาขาบางจาก เมืองตรัง จ.ตรัง รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMO / CCS2  ดูแผนที่ > คลิก
  • PEA VOLTA สาขาบางจาก เมืองตรัง 2 จ.ตรัง รองรับหัวชาร์จแบบ CHAdeMO / CCS2  ดูแผนที่ > คลิก 
  • Elex by EGAT สาขาสถานีบริการน้ำมัน PT ตรัง 2 จ.ตรัง รองรับหัวชาร์จแบบ CCS2 เท่านั้น ดูแผนที่ > คลิก

ภูเก็ต

  • PTT EV STATION สาขาสนามบินภูเก็ต จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMo / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PTT EV STATION สาขาภูเก็ต จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMo / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PEA VOLTA สาขาบางจาก กะทู้ จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMO / CCs2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PEA VOLTA สาขาบางจาก เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ CHAdeMO / CCs2 ดูแผนที่ > คลิก
  • PTT EV STATION สาขาโรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 เท่านั้น ดูแผนที่ > คลิก
  • PTT EV STATION สาขากะทู้ 2 จ.ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CHAdeMo / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก
  • EA ANYWHERE สาขา Inter Continental จ. ภูเก็ต รองรับหัวชาร์จแบบ AC Type 2 / CCS2 ดูแผนที่ > คลิก

มีพิกัดเเล้ว อย่าลืมโหลดเเอพ ค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า มาติดตั้งกันด้วยนะคะ

บทความ

มีรถ EV ต้องโหลด ! Application บอกพิกัดสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

ปัจจุบันกระแสความนิยมของรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ EV ในประเทศไทยเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยค่ายรถหลายแบรนด์ต่างก็ทยอยส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าออกมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องบอกว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในยุคน้ำมันแพงได้ไม่น้อยเลย  เมื่อมีรถไฟฟ้าแล้วก็ต้องมีข้อมูลของตำแหน่งสถานีชาร์จต่างๆ เพื่อความอุ่นใจ และแน่นอนว่าผู้ให้บริการสถานีชาร์จต่างๆ ก็จะพัฒนาแอปพลิเคชัน มาอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของรถ EV กันมากขึ้น

1. EVolt

แอปฯ ที่ให้คุณสามารถค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าได้สะดวกและง่ายดายผ่านมือถือ โดยสามารถดูข้อมูลได้ว่าแต่ละสถานีว่างหรือไม่ มีคิวเยอะหรือเต็มไหม เพื่อที่จะได้วางแผนเลือกว่าจะขับเข้าไปเติมสถานีไหนดี แถมยังสามารถสั่งเริ่มและหยุดการชาร์จได้ผ่านแอปฯ อีกด้วย

ภาพจาก : Google Play

2. EA Anywhere

แอปฯ จากผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ โดยสถานี EA Anywhere จะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นหลัก สามารถค้นหาสถานีได้สะดวกผ่านแอปฯ บนมือถือ พร้อมทั้งช่วยนำทางไปยังสถานีชาร์จที่ผู้ใช้ต้องการใช้บริการ

ภาพจาก : App Store

3. PlugShare

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ EV และ Tesla ซึ่งสามารถค้นหาสถานีบนแผนที่ได้ โดยมีตัวกรองการค้นหาตามรูปแบบรถแต่ละประเภท พร้อมทั้งสามารถอ่านและดูรีวิวการใช้งานสถานีต่าง ๆ รวมทั้งเชื่อมต่อกับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าคนอื่น ๆ ได้

ภาพจาก : Google Play

4. MEA EV

แอปฯ สำหรับค้นหา จอง และชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิดในประเทศไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง สามารถใช้ค้นหาสถานีชาร์จได้ทุกค่ายทั่วประเทศ พร้อมระบบวางแผนและคำนวณเส้นทาง มีบอกจุดแวะพักระหว่างทาง แถมยังสามารถจองตู้ชาร์จของสถานีในเครือการไฟฟ้านครหลวงได้อีกด้วย ควบคุมการชาร์จผ่านแอปฯ ได้ รองรับทั้งระบบชาร์จ AC และ DC

ภาพจาก : App Store

5. EV Station PluZ

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าโดยเครือ ปตท. ครอบคลุมการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยสามารถเช็กความพร้อมในการให้บริการของแต่ละสถานี และเช็กสถานะขณะชาร์จได้แบบเรียลไทม์

ภาพจาก : Google Play

6. PEA VOLTA

แอปฯ สำหรับค้นหาสถานีรถไฟฟ้า ภายในเครือข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งสถานีที่อยู่ใกล้เคียง แสดงผลการค้นหาในรูปแบบแผนที่และนำทางด้วย GPS สามารถเลือกดูข้อมูลหัวชาร์จที่พร้อมใช้งาน และเลือกจองคิวการชาร์จล่วงหน้าได้

ภาพจาก : App Store

7. GO TO-U

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่รวมสถานีกว่า 3 แสนแห่งทั่วโลก สามารถเลือกสถานีชาร์จที่ต้องการใช้บริการแล้ววางแผนการเดินทางได้สะดวก พร้อมระบบจองการชาร์จล่วงหน้า โดยรองรับการชำระเงินหลากหลายช่องทาง

ภาพจาก : Google Play

และที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือแอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จไฟฟ้าที่คนใช้รถยนต์ EV ควรมีติดเครื่องไว้ เพียงเท่านี้ก็หมดห่วงแล้ว เพราะไม่ว่าไฟจะหมดตอนไหนก็สามารถค้นหาสถานีชาร์จใกล้ ๆ ได้อย่างสะดวกง่ายดาย

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : Google Play, App Store, https://car.kapook.com

เปรียบเทียบ PHEV แต่ละแบรนด์ มียี่ห้อไหน และมีทีเด็ดอะไรบ้างมาดูกัน บทความ

เปรียบเทียบ PHEV แต่ละแบรนด์ มียี่ห้อไหน และมีทีเด็ดอะไรบ้างมาดูกัน

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid (PHEV) หรือเรียกง่ายๆ ว่า รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ต้องการกังวลเรื่องสถานีชาร์จไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอ เนื่องจากรถ PHEV เป็นรถไฟฟ้าที่สามารถเติมน้ำมันได้เช่นกัน ในส่วนของระบบไฟฟ้าปัจจุบันแบตเตอรี่ได้พัฒนาจนทำให้รถ PHEV สามารถชาร์จไฟฟ้าและวิ่งได้ไกลเกือบจะเทียบเท่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) บางคันเลยทีเดียว

ทำความรู้จักรถยนต์ PHEV กันสักหน่อย

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด หรือ รถยนต์ PHEV (ย่อมาจาก Plug-in Hybrid Electric Vehicle) คือ รถไฟฟ้าที่สามารถเติมน้ำมันได้ เป็นรถที่มีระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 2 แบบ ได้แก่ พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานจากไฟฟ้า พร้อมกับสามารถชาร์จไฟจากภายนอกได้ ซึ่งจะแตกต่างกับรถยนต์ไฮบริดที่ไม่สามารถชาร์จไฟได้นั่นเอง หรือหากใช้พลังงานจากไฟฟ้าหมดก็ยังสามารถขับต่อไปได้ด้วยการใช้พลังงานจากน้ำมัน

โดยจุดเด่นที่น่าสนใจของการใช้รถปลั๊กอินไฮบริด ที่รถยนต์ไฟฟ้า 100% ไม่สามารถทำได้ คือรถ PHEV สามารถชาร์จไฟฟ้าที่บ้านได้และเติมน้ำมันที่ปั้มได้ด้วย หากเราใช้รถแค่เดินทางในระยะทางที่ไม่ไกลจากบ้านซึ่งเป็นระยะทางที่แบตเตอรี่สามารถครอบคลุมได้ จะทำให้การใช้รถในแต่ครั้งไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันอีกต่อไป แค่ใช้และนำรถกับมาชาร์จที่บ้าน ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายกับเชื้อเพลิงได้มาก แต่หากต้องการเดินทางไกล ซึ่งอาจไม่มีสถานีชาร์จครอบคลุม ก็สลับโหมดไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเติมได้ทั่วประเทศ และหากมีสถานีชาร์จก็สามารถเติมเพิ่มได้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายตามความสะดวก จะเห็นได้ว่าแตกต่างกับรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่หากขับไปในพื้นที่ห่างไกล และหาสถานชาร์จไม่ได้ก็อาจทำให้เราไม่สามารถไปต่อได้

สำหรับใครที่กำลังสนใจและอยากได้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดไปใช้งาน หรือกำลังวางเผื่อซื้อในอนาคตอันใกล้นี้ เราได้รวบรวมรถที่น่าสนใจมาให้ดูกัน จะมีรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร สเปคแบบไหน และรวมถึงราคาเท่าไรกันบ้างนั้น ไปติดตามได้เลย

 

MG HS PHEV

MG HS PHEV

Haval H6 PHEV

Haval H6 PHEV

Mitsubishi Outlander PHEV

Mitsubishi Outlander PHEV

การชาร์จไฟ

– รองรับเฉพาะไฟ AC

– MG Home Charger ชาร์จ ใช้เวลา ประมาณ 4 ชั่วโมง

– MG Charging Cable ใช้เวลา ประมาณ 5  ชั่วโมง

– รองรับการชาร์จไฟ AC และ ไฟ DC Fast Chager

– ชาร์จแบนปกติ ไฟ AC รองรับการชาร์จสูงสุด 6.6 kw 0-100% ประมาณ 6 ชั่วโมง

– Fast Chager ไฟ DC รองรับการชาร์จสูงสุด 60 kw 0-80% ประมาณ 35 นาที

– การชาร์จรูปแบบปกติ ให้กำลังไฟ 100% ในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

– การชาร์จไฟแบบเร็ว ให้กำลังไฟ 80% ในเวลาประมาณ 25 นาทีด้วยหัวชาร์จ CHAdeMO

– หรือจะชาร์จโดยวิธีการกดปุ่ม Save/Charge ภายในรถก็สามารถชาร์จไฟได้ในเวลาประมาณ 40-45 นาที ให้กำลังไฟเกือบเต็ม

(ยาว x กว้าง X สูง) 4,574 x 1,876 x 1,664 มม. 4,683 x 1,886 x 1,730 มม. 4,695 x 1,800 x 1,710 มม.
ระยะฐานล้อ 2,720 มม. 2,738 มม. 2,670 มม.
เครื่องยนต์ + มอเตอร์ไฟฟ้า 284 แรงม้า
แรงบิด 480 นิวตันเมตร
326 แรงม้า
แรงบิด 530 นิวตันเมตร
305 แรงม้า
แรงบิด 531 นิวตันเมตร
แบตเตอรี่ Lithium-ion
ขนาด 16.6 kWh
Lithium-Ternary (NMC)
ขนาด 34 kWh
Lithium-ion
ขนาด 13.8 kWh
ระยะทางวิ่ง EV Mode 67 กม./ซาร์จ
(มาตรฐาน NEDC)

201 กม./ซาร์จ
(มาตรฐาน NEDC)

55 กม./ซาร์จ
(มาตรฐาน NEDC)
ราคา

รุ่น D ราคา 1,299,000 บาท
รุ่น X ราคา 1,379,000 บาท

ราคาเดียว 1,699,000 บาท

2.4 GT 4WD 1,640,000 บาท
2.4 GT-PREMIUM 1,749,000 บาท

MG HS PHEV 

MG HS PHEV 

เอ็มจี เอชเอส พีเอชอีวี โฉมใหม่เปิดตัวในงาน Motor Show 2022 ครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด Refinement โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมรูปโฉมใหม่ที่ผสานความหรูหราทันสมัยและความสปอร์ตอย่างลงตัว มีให้เลือกทั้งแบบเครื่องเบนซินเทอร์โบ และ ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid)

MG HS PHEV 2022 ถูกปรับโฉมใหม่ด้วยชุดกระจังหน้าแบบ 3 มิติ ขนาดใหญ่ ไฟหน้าทรงใหม่แบบ Quad LED Projector ขณะที่ด้านท้ายรถยังคงใช้ไฟท้ายแบบ Full LED ทรงเดิม ภายในห้องโดยสารมาพร้อมกับหลังคากระจก Panoramic, เบาะที่นั่งทรงสปอร์ต และระบบเครื่องเสียง Bose Sound System ด้านสมรรถนะใช้เครื่องยนต์เบนซิน แบบ 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด 162 แรงม้า และใช้เทคโนโลยีปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) ที่ผสานการทำงานระหว่างเครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้กำลังสูงสุดรวมกันทั้งระบบ 284 แรงม้า มาพร้อมแบตเตอรี่ Lithium-Ion แบบโมดูล ขนาดใหญ่ 16.6 kWh ทำให้สามารถขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% (EV Mode) ได้ไกลถึง 67 กิโลเมตร รองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

MG HS PHEV 2022 ราคาจำหน่าย 

Haval H6 PHEV 

Haval H6 PHEV 

ฮาวาล เอช6 พีเอชอีวี เป็นรถ SUV พลังงานไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กรุ่นใหม่ล่าสุดที่ทาง GWM พัฒนามาจาก HEV เดิม โดยยังคงวางพื้นฐานจาก GWM Lemon Platform ที่เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้รถ EV ทุกรุ่นของ GWM การออกแบบภายในสไตล์ Minimalist ที่เน้นความกว้างขวาง สะดวกสบาย และใส่ใจทุกรายละเอียดด้วยคอนโซลหน้าสีทูโทน พร้อมตกแต่งด้วยวัสดุสี Rose Gold, Silver, Piano Black, Chrome ให้ความโมเดิร์นในสไตล์ Futuristic และการเชื่อมต่อของหน้าจอทั้ง 3 ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและแม่นยำ

ด้านสมรรถนะใช้เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ ผสานการทำงานกับมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูง ให้กำลังรวมสูงสุด 326 แรงม้า แรงบิดรวมสูงสุดถึง 530 นิวตันเมตร ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติไฟฟ้าพร้อมเพลาขับเคลื่อนอิเล็กทรอนิกส์แบบ DHT ขับเคลื่อนล้อหน้า ระยะทางขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าล้วนของ All New HAVAL H6 Plug-in Hybrid สามารถทำได้สูงสุดถึง 201 กิโลเมตรต่อหนึ่งการชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC

ราคาเดียว 1,699,000 บาท

Mitsubishi Outlander PHEV 

Mitsubishi Outlander PHEV 

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี เป็นรถยนต์อเนกประสงค์แบบครอบครัว รูปลักษณ์ยังคงยึดตามแบบ Outlander รุ่นเครื่องยนต์เบนซิน กระจังหน้าแบบ Dynamic Front Shield เส้นสายตัวรถดูมีมิติ ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยหนังและวัสดุสีเงิน หน้าจอมาตรวัดแบบดิจิทัล ระบบอินโฟเทนเมนต์หน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้ว ด้านขุมพลังใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 ลิตร แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ให้กำลังสูงสุดรวมกัน 305 แรงม้า พร้อมแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนขนาด 13.8 kWh ที่สามารถวิ่งด้วยไฟฟ้าล้วนได้ไกลถึง 55 กิโลเมตร

ส่งกำลังผ่านโหมดการขับขี่ 3 รูปแบบ ได้แก่ โหมดอีวี (ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ) โหมด ไฮบริด (ขับเคลื่อนหลักด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ไฟฟ้าคู่) และโหมดพาราเรล ไฮบริด (เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถไปพร้อมกัน) พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) ให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพียง 52.6 กม./ลิตร หรือ 1.9 ลิตรต่อ 100 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

ราคาของ Mitsubishi Outlander PHEV

รุ่น GT ราคา 1,640,000 บาท
รุ่น GT-Premium 2WD ราคา 1,749,000 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่เราคัดมาให้ชมกัน มียี่ห้อไหน รุ่นใดถูกใจกันบ้างหรือเปล่า ทั้งนี้ จากกระแสความนิยมในรถยนต์พลังงานทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตจะมีรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นใหม่ ๆ ออกมาวางจำหน่ายเพิ่มอีกแน่นอน

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

เตรียมตัวยังไงบ้าง? ก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ที่บ้าน บทความ

เตรียมตัวยังไงบ้าง? ก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ที่บ้าน

เตรียมตัวยังไงบ้าง? ก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ที่บ้าน

โดยปกติเรามักคุ้นชินกับการขับรถไปเติมน้ำมันที่ปั้ม แต่เมื่อเรามีรถยนต์ไฟฟ้าไว้ในครอบครองหรือกำลังจะถอยรถไฟฟ้าสักคันมาไว้ใช้งาน จำเป็นต้องเตรียมที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่บ้าน เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะกินเวลาหลายนาทีหรือนานหลายชั่วโมง เพื่อความสะดวกหลายคนอยากจะติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านไว้ชาร์จรถ EV ของตัวเอง ซึ่งอาจรู้สึกว่าการเตรียมบ้านเพื่อติดตั้งจุดชาร์จไฟเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่า แต่เรื่องเหล่านี้เป็นการติดตั้งเพียงครั้งเดียวเพื่อการใช้งานระยะยาวและยั่งยืนกว่า ยิ่งในปัจจุบันราคาน้ำมันยิ่งสูงขึ้น รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐเองก็มีนโยบายสนับสนุนที่ทำให้คนอยากซื้อมากขึ้น ได้แก่ ลดภาษีนำเข้า ลดภาษีสรรพสามิต รวมถึงการคืนเงินให้กับผู้ซื้อรถ EV แล้วเราต้องเตรียมบ้านรองรับรถพลังงานไฟฟ้านี้อย่างไรบ้าง อาจเป็นคำถามที่รอคำตอบจากช่างไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าเราช่วยตระเตรียมบ้านและมีความรู้ช่วยเช็คความเหมาะสมได้ด้วย ย่อมดีกว่าแน่ๆ วันนี้ GWM กระบี่ เลยรวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับขั้นตอนการติดตั้ง Home Charger ที่บ้านมาฝากกัน

เตรียมบ้านไว้ต้อนรับรถยนต์ไฟฟ้า

ก่อนทำการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่บ้าน ควรทำการเช็กปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่ โดยมีหลักสำคัญในการตรวจเช็ก คือ มิเตอร์ไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าของบ้าน เราสามารถตรวจเช็กตามคำแนะนำในการติดตั้งเพื่อความปลอดภัยดังนี้

  1. ตรวจเช็กขนาดมิเตอร์ไฟ ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น แต่การพิจารณาว่าจะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าและคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะนำมาติดตั้งควบคู่กันไปด้วย 
  2. ตรวจเช็กขนาดสายไฟเมน หลังจากเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต่อด้วยการเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหริอขนาดของสายทองแดงนั่นเอง รวมไปถึงเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ด้วย 
  3. ตรวจเช็กตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EV จะต้องแยกช่องจ่ายไฟออกไปต่างหาก และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย ทั้งนี้ เวลาสร้างบ้านแล้วมีการติดตั้งตู้ประเภทนี้ควรมีช่องเหลือไว้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้ 6 ช่อง ก็ควรเลือกตู้แบบ 10 ช่อง ให้มีเหลือไว้อีก 4 ช่อง เผื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายหลัง ก็จะได้สามารถมาติดช่องเพิ่มได้ 
  4. ตรวจเช็กเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RDC เมื่อเกิดการใช้ไฟเกินพอดี เหตุไฟฟ้าลัดวงจร หรือเหตุการณ์ธรรมชาติอย่างฟ้าผ่า อาจนำมาซึ่งการเกิดไฟดูดแก่ผู้ใช้หรือเจ้าของบ้าน โดยเราจะรอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าบ้านเราติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือ RCD (Residual Current Devices) เอาไว้มั้ย โดยเครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่วตามมาตรฐานต้องมีพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA ต้องตัดไฟได้ภายในระยะเวลาเพียง 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (150 mA) แต่ถ้าตัวชาร์จรถยนต์ที่จะติดตั้งมีระบบตัดไฟอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้ง RCD เพิ่ม
  5. ตรวจเช็กเต้ารับ เต้ารับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV จะไม่เหมือนเต้ารับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และใช้หลักดินแยกออกจากหลักดินของระบบไฟในบ้าน โดยสายต่อหลักดินรถ EV ควรเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดินควรเชื่อมต่อด้วยความร้อน  
  6. ตรวจเช็กตำแหน่งก่อนติดตั้ง การติดตั้งจุดชาร์จไม่ใช่ว่าตั้งตรงไหนก็ได้ที่สายไฟไปถึง เนื่องจากมีระยะเหมาะสมของมันอยู่ 
    • ห่างได้ แต่ไม่ควรเกิน 5 เมตร จากจุดติดตั้งเครื่องชาร์จไปถึงจุดจอดรถไม่ควรเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายชาร์จ EV Charger ทั่วไปมีความยาวไม่เกิน 7 เมตรเท่านั้น ลองนึกถึงการเติมน้ำมันแบบที่เราคุ้นเคยก็ได้ ถ้าระยะไกลไป สายก็ไปไม่ถึงตัวรถ หรือหากต้องใช้การดึงบ่อยเข้าก็คงไม่ดีกับสายชาร์จแน่ 
    • เดินไฟอย่าไกลตู้ เลือกพิกัดติดตั้งจุดชาร์จที่สามารถเดินสายไฟไปได้ไม่ไกลจากตู้ควบคุมไฟฟ้า นอกจากช่างจะทำงานสะดวก ประหยัดเวลาแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟด้วย
    • โปรดชาร์จใต้หลังคา ตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในที่ร่ม สามารถป้องกันแดด ป้องกันฝนได้ เพราะถึง EV Charger จะมีระบบกันน้ำในตัว แต่คงไม่เหมาะกับการตากแดดตากฝนทั้งวันทั้งคืน ยังไงก็ควรถนอมไว้ให้ดีเพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วย

ทั้งนี้ การเพิ่มขนาดมิเตอร์จะต้องมีการปรับปรุงสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ รวมปรับเปลี่ยนตู้ Consumer Unit และเมนเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพื่อลดภาระดังกล่าว และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ทาง กฟน. และ กฟภ. จึงมีรูปแบบทางเลือกในการติดตั้ง EV Charger เพิ่มเติม ดังนี้

  • กฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิม โดยการติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้ โดยจะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม ทั้งนี้กำลังไฟในการใช้งานรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์รองรับ
  • กฟภ. อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยการเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้งโดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรก

สำหรับท่านใดที่มีรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วหรือกำลังจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ และอยากจะมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ที่บ้านเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเติมพลังงานแล้วละก็ อย่าลืมทำการเช็กลิสต์ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ครบ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนและทรัพย์สินในบ้าน

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน บทความ

PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน

PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน

แม้ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า 100% จะเป็นยานพาหนะที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถานการณ์ของราคาน้ำมันที่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีรถยนต์พลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ และให้ความประหยัดได้มากเช่นกันก็คือ รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ หรือที่เรียกว่ารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) ซึ่งเป็นรถที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์แบบไฮบริด

ทำความรู้จักกับรถยนต์ PHEV

รถยนต์ PHEV คือ รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ หรือชื่ออย่างเป็นทางการ รถปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle,PHEV ) เป็นรถที่มีระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 2 แบบ ได้แก่ พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานจากไฟฟ้า พร้อมกับสามารถชาร์จไฟจากภายนอกได้ ซึ่งจะแตกต่างกับรถยนต์ไฮบริดที่ไม่สามารถชาร์จไฟได้นั่นเอง หรือหากใช้พลังงานจากไฟฟ้าหมดก็ยังสามารถขับต่อไปได้ด้วยการใช้พลังงานจากน้ำมัน

โดยหลักการทำงานง่ายๆ ของรถยนต์ PHEV คือ เครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำงานร่วมกัน และจากการที่มีการเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟได้นั้น ทำให้ตัวรถมีการเพิ่มโหมด EV เข้ามา ซึ่งจะวิ่งด้วยไฟฟ้าอย่างเดียวได้ด้วย แต่ก็มีระยะทางไม่เยอะ 30-50 กิโลเมตรเท่านั้น และเมื่อกระแสไฟฟ้าหมด เครื่องยนต์ก็จะเข้ามารับหน้าที่ในการขับเคลื่อนแทน

ความแตกแต่างระหว่างรถไฮบริด (HEV) รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) และรถไฟฟ้า(BEV) 100%

รถทั้ง 3 ประเภทจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยว ซึ่งรถไฮบริดนั้นจะเป็นการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ แต่ไม่สามารถชาร์จไฟได้ ต่างจากรถปลั๊กอินไฮบริดที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรถไฮบริด โดยรถ PHEV เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เหมือนรถยนต์ไฮบริด แต่ รถ PHEV สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้ว่าต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าผสานเครื่องยนต์ (ไฮบริด) หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ก็จะมีการทำงานที่เหมือนรถยนต์ไฟฟ้าเลย และสามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหากแบตเตอรี่หมดและไม่สามารถหาที่ชาร์จไฟได้ สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริดเพื่อเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของรถไฟฟ้า 100% จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าส่งกำลังให้รถยนต์เคลื่อนที่ โดยเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น ไม่มีเครื่องยนต์น้ำมันเกี่ยวข้อง ดังนั้นระยะการขับจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ, ขนาด และประเภทของแบตเตอรี่ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุก

มาดูข้อดีของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้

  1. ประหยัดค่าน้ำมันได้เยอะแน่นอน รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 30-60% เพราะมีการใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาทดแทน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
  2. ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าช่วย สามารถขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) สามารถขับขี่ด้วยระบบไฟฟ้าได้ 100% จึงทำให้สามารถขับขี่ได้ไกลโดยไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน
  3. รักษ์โลก ลดการปล่อยมลพิษได้เยอะ การใช้งาน 2 ระบบของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) จะช่วยลดการปล่อยมลพิษในอากาศ ช่วยรักษ์โลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ระบบพลังงานไฟฟ้า
  4. ขับเคลื่อนได้ดี เดินทางไกลได้ไม่ติดขัด ด้วยการใช้งานแบบ 2 ระบบ ทำให้ขับขี่ได้ไกลยิ่งขึ้น สมรรถนะในการขับขี่ดี สามารถเลือกขับได้ทั้งระบบไฟฟ้า และ ไฮบริดทั่วไป
  5. สามารถเติมพลังงานไฟฟ้าได้ โดยสามารถชาร์จระบบไฟฟ้าได้เหมือนรถไฟฟ้า 100% สามารถชาร์จได้ง่าย ๆ ที่จุดชาร์จที่ให้บริการ หรือชาร์จกับปลั๊กไฟที่บ้านก็ได้เช่นกัน

มาดูข้อเสียของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) กันบ้าง

  1. ราคาที่สูงขึ้น รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) จะมีราคาที่สูงกว่ารถไฮบริดทั่วไป เนื่องจากเป็นรถที่มี 2 ระบบ สามารถใช้ได้ทั้งระบบน้ำมัน และระบบไฟฟ้า
  2. ปัญหาการชาร์จไฟ บางคนอาจพบเจอกับปัญหาสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ทั่วถึง แม้ในปัจจุบันจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้า และกึ่งไฟฟ้าแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รองรับทุกพื้นที่อยากทั่วถึง อาจทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานระบบไฟฟ้าในบางพื้นที่
  3. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอาจสูงขึ้น เนื่องจากเป็นรถ 2 ระบบ จึงอาจมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่สูงขึ้นกว่ารถไฮบริดทั่วไป ทั้งค่าไฟบ้าน ค่าซ่อมบำรุงกรณีเกิดเสีย หรือขัดข้อง จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รถ PHEV หรือรถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการขับขี่บนท้องถนน ทั้งช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันนี้ รถ PHEV ในไทยก็มีให้เลือกกันหลากหลายรุ่น ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับใครที่สนใจรถ PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ ของแบรนด์ GWM สามารถทดลองขับรถ HAVAL H6 PHEV ได้แล้วที่ โชว์รูม GWM กระบี่ เราพร้อมดูแลและให้บริการท่าน.

 

 

HAVAL H6 PHEV

 

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ บทความ

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ

ในปัจจุบันโลกของอุตสาหกรรมรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเมื่อเทียบกับยุคก่อน ที่เรารู้แค่ว่ารถยนต์ต้องเติมน้ำมัน แต่ในปัจจุบันมีพลังงานทางเลือกอีกมากมายเนื่องจากน้ำมันเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ซึ่งพลังงานทางเลือกที่เรียกว่าเป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คงจะเป็นพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีอีกหลายประเภทเช่นกัน อย่างเช่นการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยให้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันทำงานน้อยลง โดยวันนี้ทาง GWM Krabi จะพามาทำความเข้าใจรถประเภทต่างๆ ทั้งรถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ที่หลายๆ คนคงสงสัยว่าแล้วมันต่างกันยังไง

jolion h6 HEV

HAVAL JOLION HEV และ HAVAL H6 HEV

รถยนต์ไฮบริด Hybrid electric vehicle (HEV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์ไฮบริด Hybrid electric vehicle (HEV) คือรถยนต์ที่ใช้ขุมพลัง 2 ระบบ คือเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำงานประสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าจ่ายไฟโดยแบตเตอรี่ เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ซึ่งรถไฮบริดจะไม่สามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ แต่จะอาศัยการชาร์จไฟจากการเบรกรวมถึงการชะลอความเร็ว (Self-Charging) 

การทำงานของรถยนต์ไฮบริด เป็นการผสมผสานกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และระบบจะเลือกทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เองโดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดการขับขี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีข้อดีที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนและโลก คือ Zero Emission หรือก็คือรถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ

โดยกระบวนการทำงานนั้นขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือออกตัว มอเตอร์ไฟฟ้าจะเป็นกำลังหลัก โดยการส่งพลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน ซึ่งจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอย่างมาก และเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ ทั้งระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้า จะทำงานร่วมกันในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่จำเป็น นอกจากนั้นพลังงานส่วนเกิน เช่น เมื่อขณะชะลอความเร็วรถ ยังถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งกลับไปสะสมในแบตเตอรี่ เป็นเหตุผลให้รถยนต์ไฮบริดไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟจากภายนอก

ขณะเร่งเครื่องยนต์เพื่อแซงหรือทำความเร็ว มอเตอร์ไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนเครื่องยนต์แบบเต็มกำลัง เพื่อส่งอัตราเร่งให้สูงสุดในพริบตา ลดปัญหาการรอรอบ หรือการเร่งไม่ขึ้น และยังทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้อีกทางหนึ่ง

HAVAL H6 PHEV

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) คือ รถที่สามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ และสามารถวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนได้ระยะทางไกลกว่ารถไฮบริด กระบวนการทำงานก็คล้ายๆ กับรถไฮบริด แต่จะต่างกันตรงที่รถปลั๊กอินไฮบริดนั้นสามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ และจะมีแบตเตอรี่ขนาดที่ใหญ่กว่า ให้กำลังสูงกว่า และวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนได้ระยะทางไกลกว่ารถไฮบริดมาก

PHEV สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ได้ก็คือ รถยนต์ลูกผสมที่มีทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า หลายคนอาจคิดว่านี่คือรถ Hybrid แต่จริงๆ แล้วมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่าง PHEV และรถยนต์ Hybrid เล็กน้อย โดยรถยนต์ Hybrid ใช้กำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการออกตัว รวมไปถึงช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ และแหล่งพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เมื่อทำการเบรกระบบจะชาร์จไฟกลับเข้าสู่แบตเตอรี่ ขณะที่ PHEV เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เหมือนรถยนต์ Hybrid แต่ PHEV สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้ว่าต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าผสานเครื่องยนต์ (ไฮบริด) หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ก็จะมีการทำงานที่เหมือนรถยนต์ไฟฟ้าเลย และสามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหากแบตเตอรี่หมดและไม่สามารถหาที่ชาร์จไฟได้ สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริดเพื่อเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในรถยนต์ HAVAL H6 PHEV สามารถใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% ได้ไกลสุดถึง 201 กิโลเมตรต่อการชาร์จแบตเตอรี่เต็มเพียง 1 ครั้ง และเมื่อเครื่องยนต์ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลังรวมสูงสุด 326 แรงม้า แรงบิดรวมสูงสุดถึง 530 นิวตันเมตร รองรับการขับขี่ที่หลากหลาย พร้อมโหมดการขับขี่สูงสุดถึง 8 โหมด จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ Dual Clutch ขับเคลื่อนล้อหน้า รองรับน้ำมันสูงสุด E20 โดยมีแบตเตอรี่ขนาด 34.6 kWh พร้อมระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟ Plug-in Hybrid วิ่งด้วย EV Mode ไฟฟ้าล้วน ระยะทางสูงสุด 201 km. (มาตรฐาน NEDC)

ที่น่าสนใจคือระบบชาร์จไฟ CCS Type 2 combo (Combined Charging System) รองรับการชาร์จแบบการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC (0% – 100%) ประมาณ 6 ชั่วโมง ส่วนการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC ของ H6 PHEV คันนี้ อยู่ที่ (0% – 80%) ใช้เวลาประมาณ 35 นาที

ORA Good Cat GT

ORA Good Cat GT รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100%

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% Electric vehicle (EV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% Electric vehicle (EV) คือ รถที่ใช้พลังงาน และชาร์จเพิ่มด้วย ไฟฟ้าอย่างเดียว รถ EV เป็นรถที่ใช้ไฟฟ้าเติมพลังงานเท่านั้น ซึ่งเข้าสู่ตัวรถผ่านสายเคเบิ้ล และไม่ต้องใช้น้ำมันหรือดีเซล ไฟฟ้าถูกเก็บในแบตเตอรีก่อนถูกใช้งานโดยมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถ ซึ่งจะแตกต่างจากรถไฮบริด ที่มีส่วนประกอบไฟฟ้าในระบบส่งกำลังผสานกับเครื่องยนต์น้ำมัน โดยรถในลักษณะนี้ไม่ใช่รถ EV เพราะประเด็นนี้สร้างความสับสนในช่วงที่ผ่านมา จากที่ผู้ผลิตบางราย (และแน่นอนว่านักวิจารณ์ด้วย) ได้เรียกอย่างผิดๆ ว่ารถไฮบริดเป็น รถ EV

ในปัจจุบันรถ EV กำลังถูกมองว่าเป็นเทรนด์รถที่กำลังจะเข้าทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมัน ซึ่งจังหวะนี้ก็ถือได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องยนต์น้ำมัน ไปสู่รถใช้พลังงานไฟฟ้า 100% จะเห็นได้ว่าระหว่างนี้ก็จะมีรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเข้ามาคั่นในช่วงนี้ เพื่อให้รอยต่อของการเปลี่ยนแปลงไม่กระทันหันจนเกินไป เนื่องจากรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ยังคงใช้เครื่องยนต์น้ำมันผสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่

โดยประโยชน์ของรถ EV ก็สำคัญมาก เมื่อเทียบกับรถใช้น้ำมันกับดีเซลธรรมดา เช่นเดียวกับรถไฮบริดที่ค่อยๆ เป็นที่นิยม รถ EV ไม่มีควันพิษจากท่อไอเสีย ซึ่งหมายถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในละแวกนั้นน้อยกว่า รถยนต์ไฟฟ้าทำงานอย่างเงียบมากแล้วขับง่ายสุดๆ กับกำลังที่มากพอสมควรในความเร็วต่ำ ที่สำคัญที่สุด รถเหล่านั้นชาร์จแบตที่บ้านได้ คุณสามารถ “เติมพลัง” รถ EV ด้วยปลั๊กสามตาในทุกที่ที่มีเต้ารับ ซึ่งแทบจะมีทุกที่ ขณะที่ผู้ใช้รถเลือกติดตั้งปลั๊กที่ช่ำชองกว่าเพื่อการชาร์จแบตที่เร็วขึ้น เป็นไปได้ที่สุดในการใช้การปรับแต่งเดิมกับตัวรถหรือในโรงรถ Faster chargers อย่างที่พบได้ตามลานจอดรถและปั๊มน้ำมัน ก็มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ รถ EV เช่นกัน

ในส่วนของ GWM เองก็มีรถยนต์ไฟฟ้า 100% วางจำหน่ายอยู่ด้วยเช่นกัน คือ Ora Good Cat โดยเจ้าเหมียว มาด้วยขุมพลังไฟฟ้า 100% ซึ่งประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchronous Motor ให้กำลังสูงสุด 143 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 210 นิวตันเมตร จับคู่กับระบบส่งกำลังไฟฟ้า จำกัดความเร็วไว้สูงสุดที่ 150 กม./ชม. ถ่ายทอดกำลังผ่านระบบเกียร์ ORA-Goddess Easy Drive ซึ่งมีให้เลือกแบตเตอรี่แบบ CTP ความจุ 47.8 kWh ให้ระยะทางวิ่ง 401 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และแบตเตอรี่แบบ CTP ความจุ 59.1 kWh ให้ระยะทางวิ่ง 501 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถชาร์จได้กว่า 80% (จากแบตเตอรี่คงเหลือ 30%) ภายในเวลาเพียง 30 นาทีตามมาตรฐาน NEDC (New European Driving Cycle) ของยุโรป

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

error: Content is protected !!