บทความ

5 ผลเสียที่เกิดจากการขับรถตกหลุมบ่อย มีอะไรบ้าง?

  1. ช่วงล่างเสียหาย- ความเสียหายของช่วงล่างที่เกิดจากการตกหลุมบ่อย เช่น ปีกนกคด, บูชแตกหรือขาด จะทำให้เกิดแรงสะเทือนจากช่วงล่างมายังพวงมาลัยมากขึ้น เกิดเสียงดังขณะขับขี่ รวมถึงโช้กอัปอาจรั่วไวกว่าปกติ ส่งผลให้การทรงตัวของรถไม่ดี
  2. ล้อและยางเสียหาย- การกระแทกจากหลุมบ่ออาจทำให้ล้อแม็กเกิดรอยบุบ รอยแตก หรือขอบล้อเสียรูปได้ นอกจากนี้ ยางรถยนต์ยังอาจเกิดรอยปริ หรือแตกได้ ซึ่งส่งผลต่อการยึดเกาะถนนและความปลอดภัยในการขับขี่
  3. ระบบพวงมาลัยเสียหาย- การกระแทกอย่างแรงอาจทำให้ปลายเพลาคดงอ หรือเสียหายได้ ส่งผลให้พวงมาลัยสั่น หรือมีเสียงดังขณะขับขี่ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การควบคุมรถทำได้ยากขึ้น
  4. ตัวถังรถเสียหาย- ในกรณีที่ตกหลุมขนาดใหญ่และแรงกระแทกแรงมาก อาจทำให้โครงรถเสียรูปได้ นอกจากนี้ ชิ้นส่วนตัวถังต่างๆ เช่น กันชน ประตู อาจหลวม หรือเกิดเสียงดังได้ ซึ่งส่งผลต่อความสวยงามและความแข็งแรงของรถยนต์
  5. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูง- การซ่อมแซมส่วนประกอบต่างๆ ที่เสียหายจากการตกหลุมบ่อมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเสียหายหลายส่วน ซึ่งล้วนแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถ
บทความ

จำเป็นแค่ไหน ต้องสลับยางทุก 10,000 กม.?

ประโยชน์ของการสลับยางทุก 10,000 กม.

       การสลับยางรถยนต์เป็นสิ่งที่เจ้าของรถหลายคนละเลย แต่ความจริงแล้วการสลับยางมีประโยชน์กว่าที่หลายคนคิด เนื่องจากยางแต่ละเส้นจะสึกหรอไม่เท่ากัน อันเป็นผลมาจากน้ำหนักของรถและการกระจายน้ำหนักที่แตกต่างกัน การสลับยางจะช่วยให้ยางสึกหรอได้สม่ำเสมอมากขึ้น ทำให้ยางมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นนั่นเอง

       นอกจากนี้ การที่ยางมีการสึกหรอใกล้เคียงกันทั้ง 4 เส้น ยังจะช่วยส่งผลให้รถยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น ทั้งในสภาพถนนแห้งและเปียก ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้อีกด้วย

การสลับยางควรทำเมื่อใด?

       การสลับยางควรทำทุก 10,000 กม. ถือเป็นระยะทางที่เหมาะสมสำหรับการสลับยาง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของรถด้วย หรือหากสังเกตเห็นว่าดอกยางด้านหน้าสึกหรอมากกว่าด้านหลัง หรือด้านซ้ายสึกหรอมากกว่าด้านขวา ควรนำรถเข้าตรวจสอบและสลับยางไปพร้อมกัน

ดังนั้น การสลับยางทุก 10,000 กิโลเมตรเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางและเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่นั่นเองครับ

บทความ

ผ้าเบรกไหม้ แก้ไขยังไง ?

       เทคนิคการสังเกตปัญหาผ้าเบรกไหม้ที่อาจจะเกิดกับระบบเบรกของรถยนต์  และต้องรู้วิธีรับมือผ้าเบรกไหม้ เพราะ “เบรก” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการขับขี่ให้ปลอดภัย ต้องใส่ใจดูแลให้ดี มาเข้าเรื่องผ้าเบรกไหม้กันดีกว่า  

เช็กอาการผ้าเบรกไหม้

  • เหยียบเบรคแล้วเบรคจม 
  • เกิดควันโขมงที่ล้อทั้งสองข้าง ควันกลิ่นเหม็น

       หากดึงดันขับไปเรื่อย ๆ อาจจะเบรกไม่อยู่ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการขับขี่รถเร็วและชอบแตะเบรกกะทันหันอยู่บ่อย ๆ แตะเบรกลากยาว บ่อยครั้งเลยล่ะที่เราจะได้กลิ่นผ้าเบรกไหม้  โดยเฉพาะถนนที่มีโค้งเยอะ ๆ เนื่องจากมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรก น่ากลัวที่สุดคือเบรกจม เบรกไม่อยู่เพราะร้อนจัด ทำให้รถยนต์เสียหลักได้ 

เหตุที่ทำให้ผ้าเบรกไหม้

  • เพราะโชว์เฟอร์ไม่เซียนแตะเบรกแช่ยาวเกินไปทำให้เบรกไหม้ 
  • ไม่ค่อยได้เช็กระบบเบรกหรือเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามระยะที่ควร
  • ไม่ใช่เกียร์ต่ำเวลาลงเขา ทำให้ต้องเบรกตลอดเวลา 

วิธีรับมือเหตุผ้าเบรกไหม้ 

  • จอดพักรถในที่ปลอดภัยประมาณ20-30 นาที จนกว่าเบรกรถยนต์จะเย็นลง ห้ามราดน้ำ เพราะจะทำให้จานเบรกคด หากขับรถทางไกลควรพักรถเป็นระยะ ระหว่างขับจะแง้มกระจกไว้สักนิดก็ได้เผื่อได้กลิ่นไหม้ และควรเปลี่ยนผ้าใบเบรกตามระยะเวลาที่กำหนดทุก ๆ 25,000 กม. 
  • ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขับขี่ของคุณด้วยหากขับบ่อย บรรทุกของหนัก ขับรถเร็ว แน่นอนว่าผ้าเบรกเสื่อมไวชัวร์ ๆ 
บทความ

วิธีลดความร้อนแบตเตอรี่ EV

  1. จอดในที่ร่ม

         วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การจอดรถในที่ร่ม หลีกเลี่ยงบริเวณที่แสงแดดสาดส่องโดยตรง เพราะจะช่วยให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV ของคุณไม่ร้อนจนเกินไป เนื่องจากเมื่อจอดในที่ร่มจะช่วยลดการใช้พลังงานที่ทำให้รถเย็นลง

  1. จำกัดการชาร์จเร็ว

        รู้มั้ยว่า การชาร์จเร็วทำให้อุณหภูมิของแบตเตอรี่สูงขึ้นค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นในช่วงที่มีอากาศร้อน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการชาร์จเร็วจะดีกว่า ถ้าเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้ชาร์จเท่าที่จำเป็น อย่าชาร์จจนเต็ม และไม่ควรชาร์จในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน

  1. ชาร์จเพียง 80%

        แนะนำให้ประคับประคองแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV ไว้ที่ 20% – 80% เนื่องจากเป็นระยะมาตรฐานรักษาคุณภาพแบตเตอรี่ที่ดี ยิ่งชาร์จนานแบตเตอรี่ยิ่งร้อน บวกกับวันนั้นอากาศร้อนจัด ยิ่งทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

        ประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่มีมากมาย และเป็นหนึ่งในตัวเลือกของคนรักษ์ธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันได้เป็นอย่างดี หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากครอบครองสักคัน แต่ยังกังวลในเรื่องแบตเตอรี่ EV และความร้อนจัด

บทความ

4 เทคนิคเลี้ยวโค้งอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. จับพวงมาลัยที่ 3 และ 9 นาฬิกาเสมอ– การจับพวงมาลัยถือเป็นมาตรฐานของการขับรถอย่างปลอดภัย ควรจับพวงมาลัยด้วยมือขวาที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และมือซ้ายที่ 9 นาฬิกา จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมพวงมาลัยได้ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการขับรถเข้าโค้งด้วยมือเดียวอย่างเด็ดขาด เพราะจะลดประสิทธิภาพในการควบคุมพวงมาลัยเมื่อต้องหักหลบฉุกเฉินระหว่างเข้าโค้ง
  2. ลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง– หากขับรถมาด้วยความเร็วสูง ควรลดความเร็วก่อนเข้าโค้งเสมอ จะช่วยลดโอกาสที่รถอาจหลุดโค้ง และช่วยให้ผู้ขับขี่มีสติในการควบคุมรถมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการลดความเร็วก่อนเข้าโค้งยังช่วยให้น้ำหนักตัวรถถ่ายเทไปที่ล้อหน้า ช่วยเพิ่มการยึดเกาะถนนได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ระหว่างเข้าโค้งควรหลีกเลี่ยงการเบรกโดยไม่จำเป็น เพราะรถข้างหลังอาจเบรกไม่ทันได้ ควรประคองความเร็วอย่างคงที่ ก่อนจะเพิ่มความเร็วอีกครั้งหลังจากพ้นโค้งไปแล้ว
  3. มองไกลสุดปลายโค้ง– การเข้าโค้งสายตาควรมองที่ปลายโค้งควบคู่กันไปด้วย จะช่วยให้ผู้ขับขี่ประเมินได้ว่าจำเป็นต้องเพิ่มองศาการหมุนพวงมาลัย หรือชะลอความเร็วลงหรือไม่
  4. ประคองรถให้อยู่ในเลน– การเข้าโค้งที่ถูกต้องควรประคองรถให้อยู่ในเลนของตนเองเสมอ ไม่ตัดเลนอื่นโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่หากรู้สึกว่ารถเริ่มมีอาการหลุดออกจากเลน หรือรถมีอาการโคลงมากจนเกินไป แสดงว่าคุณอาจยังลดความเร็วไม่มากพอก่อนเข้าโค้ง

       นอกเหนือจากทักษะของผู้ขับขี่แล้ว สภาพยางก็มีส่วนช่วยในการเข้าโค้งอย่างปลอดภัยเช่นกัน หากเป็นยางที่มีสภาพเก่า เนื้อยางแข็ง จะส่งผลให้การยึดเกาะถนนลดน้อยลง อาจทำให้เกิดอาการหน้าดื้อหรือท้ายปัดได้ง่าย

บทความ

ยางอะไหล่ควรเติมลมยางเท่าไหร่?

    หากเป็นยางสำหรับใช้เป็นยางอะไหล่โดยเฉพาะ จะแนะนำให้เติมลมยางไว้ที่ 60 PSI (เทียบกับยางปกติเติมลมยางที่ประมาณ 32-36 PSI) เนื่องจากลมยางจะค่อยๆ ลดลงทีละน้อย การเติมลมยางมากกว่าปกติจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีลมยางเพียงพอหากจำเป็นต้องใช้งาน

    อย่างไรก็ดี ยางส่วนใหญ่จะแนะนำให้เติมลมยางสูงสุดไม่เกิน 50 PSI ให้เติมลมยางสูงสุดไม่เกินตามที่ผู้ผลิตยางกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย

เมื่อใส่ยางอะไหล่ สามารถขับขี่ด้วยความเร็วเท่าไหร่?
     เนื่องจากยางอะไหล่ เป็นยางสำรองที่เอาไว้ใช้ยางฉุกเฉินเท่านั้น จึงไม่ควรขับด้วยความเร็วที่มากเกินไป ซึ่งความเร็วที่คู่มือของรถยนต์ส่วนใหญ่แนะนำอยู่ที่ประมาณ 80 กม./ชม. จึงต้องจำให้ขึ้นใจว่าไม่ควรขับเร็วเกินไป เพราะไม่ใช่ยางรถยนต์แบบสมบูรณ์ ควรขับอย่างช้าๆ และระมัดระวังให้มาก

บทความ

จานเบรกขึ้นสนิมเป็นอันตรายหรือไม่?

จานเบรกขึ้นสนิมอันตรายหรือไม่?

     คำตอบคือ “ไม่เป็นอันตราย” เนื่องจากสนิมที่เกาะอยู่บนหน้าจานเบรกเกิดขึ้นความชื้นและละอองน้ำ ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เนื่องจากน้ำฝนจะกระเซ็นจากพื้นไปเกาะอยู่บนจานเบรก ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันจนกลายเป็นคราบสนิมตามมา

    แม้ว่าหน้าจานเบรกจะมีคราบสนิมเกาะอยู่ทั่วทั้งจานเบรก แต่เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องกังวลไป เนื่องจากคราบสนิมเหล่านี้จะหายไปเมื่อมีการเหยียบเบรกขณะลดความเร็ว จะทำให้หน้าจานเบรกกลับมาใสกิ๊งเหมือนเดิม อย่างไรก็ดี หากใช้ความเร็วในการขับขี่ไม่มากนัก คราบสนิมบนจานเบรกที่ล้อคู่หลังอาจยังคงหลงเหลืออยู่ เนื่องจากรถปกติจะมีแรงเบรกที่ล้อคู่หน้ามากกว่าล้อคู่หลังนั่นเอง

    ดังนั้น หากพบว่าจานเบรกรถของคุณมีคราบสนิมเกาะอยู่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพียงนำรถไปใช้งานตามปกติ คราบสนิมก็จะหายไปเอง

บทความ

5 วิธี ขจัดกลิ่นอาหารติดรถ

  1. ใช้อากาศไล่กลิ่น

           หากรู้สึกมีกลิ่นอาหารที่ไม่พึงประสงค์ ให้เปิดหน้าต่างทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้อากาศจากภายนอก เข้ามาไล่อากาศภายใน ทำระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้ผลดีทีเดียว

  1. ทำความสะอาดภายใน

           หากใช้อากาศไล่แล้วยังไม่ได้ผล แสดงว่าอาจมีเศษอาหารตกหล่นอยู่ วิธีที่ดีที่สุด คือ ทำความสะอาดภายใน ดูดฝุ่นตามซอกต่าง ๆ และเช็ดถูด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

  1. ใช้เครื่องฟอกอากาศ

           เครื่องฟอกอากาศบางรุ่นมีเทคโนโลยีฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วย ถือเป็นไอเทมหนึ่งที่ควรมีติดรถ

  1. ใช้ถ่านดับกลิ่น หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

           ถ่านไม้, กากกาแฟ หรือใบชาแห้ง หากนำมาใส่ภาชนะแล้ววางไว้ในรถสัก 1 คืน จะช่วยดูดกลิ่นได้ดีทีเดียว

  1. นำรถจอดตากแดด

           การจอดรถท่ามกลางแสงแดดจัดจ้าน ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ไม่น้อย หากรถยังมีกลิ่นอาหารที่หลงเหลือไว้ ให้นำรถยนต์ไปตากแดดพร้อมเปิดประตูรถไว้ให้ลมผ่าน ให้เกิดการถ่ายเทอากาศภายในรถ และขจัดกลิ่นเหม็นติดรถได้เป็นอย่างดี   อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขและป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การรักษาความสะอาดภายในรถ และหมั่นบำรุงรักษาระบบแอร์ตามระยะให้สะอาดอยู่เสมอ

บทความ

5 ทริค ขับรถปลอดภัย ในวันฝนตก

        อากาศเริ่มเปลี่ยนฝนก็ตกแดดก็ออกอากาศก็ร้อน สำหรับใครที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหน วางทริปไปท่องเที่ยวเนื่องจากฝนตกบ่อยต้องระมัดระวังกันด้วยนะ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ปลอดภัยไว้ก่อน หากใครเป็นมือใหม่เรื่องขับขี่ ทางเรามีทริคแนะนำการขับยังไงให้ปลอดภัยห่างไกลอุบัติเหตุ

1.เช็คลมยางก่อนเดินทาง

       สำหรับมือใหม่ในการขับรถ ลมยาง นั้นเป็นสิ่งที่มักจะเผลอเรอมองข้ามการให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ แต่รู้ไหม ลมยางอ่อน หรือ ลมยางแข็ง หากขับขี่จนคล่องแล้วลมยางนั้นส่งผลต่อการขับขี่เป็นอย่างมากจนรู้สึกได้ ซึ่งรถแต่ละชนิดมีขนาดแตกต่างกัน ควรจะศึกษาดูว่ารถชนิดไหนนั้นเติมลมยางเท่าไร เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

2.เช็คใบพัดปัดน้ำฝน

        ที่ปัดน้ำฝนนั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีมากับตัวรถยนต์ที่จำเป็นอย่างมากหากพบเจอฝนตกหรือมรสุม แต่รู้ไหมที่ปัดน้ำฝนก็มีอายุการใช้งานเหมือนกันนะ ประเทศไทยอย่างที่รู้กันเป็นเมืองร้อน วัสดุสำคัญของใบพัดน้ำฝนที่ทำหน้าที่ปัดหน้าให้กระจกหน้ารถของเรานั้นใสทำมาจาก ยาง ซึ่งเมื่อยางนั้นตากแดดหรือโดนความร้อนมากๆจะเกิดการเสื่อมสภาพ มีเสียงดังขึ้นมาไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราควรจะเช็คและเปลี่ยนใบพัดปัดน้ำฝนในช่วงต้นฤดูฝนหรือก่อนที่จะเข้าฤดูฝน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เช็คไฟของรถ

       ไฟหน้ารถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการขับรถในฤดูฝน การเปิดไฟในขณะที่ฝนตกหนักนั้นสามารถช่วยมองให้เห็นภาพข้างหน้าชัดเจนมากขึ้นนะ แต่อย่าเปิดไฟสูง ไฟเลี้ยวไฟเบรคก็เช่นกันควรจะคอยเช็คว่าสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ เนื่องจากหากฝนตกหนักไฟเหล่านี้เราสามารถใช้เป็นสัญญาณในการขับขี่หรือส่งสัญญาณต่าง ๆ ได้เพราะฉะนั้นการเช็คอุปกรณ์ไฟ สำหรับการขับขี่นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากตนเองและผู้อื่น

4.ตรวจเช็คของเหลวในห้องเครื่อง

         ตรวจดูอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องเครื่องยนต์ ว่ามีอะไรที่ต้องเติมก่อนรึเปล่าเช่น น้ำมันเบรค น้ำสำหรับแบตเตอรี่ น้ำมันเครื่องยนต์ เพื่อให้พร้อมก่อนออกเดินทางเนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับการทำงานของเครื่องยนต์ ควรหมั่นเช็คอย่างสม่ำเสมอ

5.เช็คน้ำมันหรือไฟฟ้า วางแผนในการเดินทาง

         ลองดูว่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานไฟฟ้าที่รถที่เราขับนั้นพร้อมสำหรับเดินทางไหม เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางหรือวางแผนก่อนเดินทางดีกว่า ว่าจะแวะพักที่จุดบริเวณไหนเติมพลังงานให้กับรถตรงไหนดี เพื่อลดความเสี่ยงและผิดพลาด และคนขับยังได้พักเหนื่อยจากการเดินทางด้วยนะ

บทความ

สิ่งของที่ไม่ควรเก็บไว้ในรถ

      รถยนต์ถือว่าเป็นยานพาหนะที่อยู่คู่กับชีวิตประจำวัน และการใช้ง่ายบ่อยๆ ก็อาจจะเผลอเก็บสิ่งของ ตั้งวางเอาไว้ในรถยนต์โดยไม่รู้ตัว ของบางอย่างสามารถเก็บได้ แต่มีสิ่งของที่ไม่ควรเก็บใว้ในรถเหมือนกัน โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดตากแดด มันจะเกิดอันตรายภายหลังได้

  1. แบตเตอรี่สำรอง ไอเท็มที่คู่กับสมาร์ทโฟนในยุคปัจจุบัน และที่สำคัญไม่ควรทิ้งเอาไว้ในรถยนต์ เพราะเมื่อถูกความร้อนสูงจะทำให้เกิดปฏิกิริยาจนกลายเป็นระเบิดได้
  2. ยารักษาโรค การทิ้งยาเอาไว้ในรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดตากแดดเอาไว้ ความร้อนจะทำให้ยาเสื่อมสภาพได้
  3. ขวดน้ำดื่ม หากทิ้งเอาไว้ในรถที่จอดตากแดด และถ้าเกิดขวดน้ำสามารถทำมุมองศากับแดดที่ส่องเข้ามาในรถ จนกลายเป็นการตกกระทบรวมแสง ก็อาจเกิดไฟไหม้จากภายในรถได้เลย
  4. กระป๋องสเปรย์ ในกระเป๋ามีการอัดแน่นของสารเคมีและแก๊สจำนวนมาก หากได้รับความร้อนปริมาณสูง ก็จะเกิดการขยายตัว อาจทำให้เกิดประกายไฟและระเบิดได้
  5. น้ำแข็งแห้ง คงเป็นส่วนน้อยที่จะทิ้งน้ำแข็งแห้งไว้ในรถ แต่หากมีก็ควรระวัง เพราะน้ำแข็งแห้งระเบิดในห้องโดยสาร จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะทำให้ผู้อยู่ห้องโดยสารหมดสติได้ ดังนั้นควรเก็บในภาชนะที่มีการปิดอย่างมิดชิดเท่านั้นทั้งหมดก็เป็นเพียงสิ่งของที่ไม่ควรเก็บเอาไว้ในรถยนต์ ลองสำรวจดีให้ดี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้
error: Content is protected !!