PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน บทความ

PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน

PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ มันเป็นอย่างไร มาดูกัน

แม้ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า 100% จะเป็นยานพาหนะที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถานการณ์ของราคาน้ำมันที่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีรถยนต์พลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ และให้ความประหยัดได้มากเช่นกันก็คือ รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ หรือที่เรียกว่ารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) ซึ่งเป็นรถที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์แบบไฮบริด

ทำความรู้จักกับรถยนต์ PHEV

รถยนต์ PHEV คือ รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ หรือชื่ออย่างเป็นทางการ รถปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle,PHEV ) เป็นรถที่มีระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 2 แบบ ได้แก่ พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานจากไฟฟ้า พร้อมกับสามารถชาร์จไฟจากภายนอกได้ ซึ่งจะแตกต่างกับรถยนต์ไฮบริดที่ไม่สามารถชาร์จไฟได้นั่นเอง หรือหากใช้พลังงานจากไฟฟ้าหมดก็ยังสามารถขับต่อไปได้ด้วยการใช้พลังงานจากน้ำมัน

โดยหลักการทำงานง่ายๆ ของรถยนต์ PHEV คือ เครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำงานร่วมกัน และจากการที่มีการเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟได้นั้น ทำให้ตัวรถมีการเพิ่มโหมด EV เข้ามา ซึ่งจะวิ่งด้วยไฟฟ้าอย่างเดียวได้ด้วย แต่ก็มีระยะทางไม่เยอะ 30-50 กิโลเมตรเท่านั้น และเมื่อกระแสไฟฟ้าหมด เครื่องยนต์ก็จะเข้ามารับหน้าที่ในการขับเคลื่อนแทน

ความแตกแต่างระหว่างรถไฮบริด (HEV) รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) และรถไฟฟ้า(BEV) 100%

รถทั้ง 3 ประเภทจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยว ซึ่งรถไฮบริดนั้นจะเป็นการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ แต่ไม่สามารถชาร์จไฟได้ ต่างจากรถปลั๊กอินไฮบริดที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรถไฮบริด โดยรถ PHEV เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เหมือนรถยนต์ไฮบริด แต่ รถ PHEV สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้ว่าต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าผสานเครื่องยนต์ (ไฮบริด) หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ก็จะมีการทำงานที่เหมือนรถยนต์ไฟฟ้าเลย และสามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหากแบตเตอรี่หมดและไม่สามารถหาที่ชาร์จไฟได้ สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริดเพื่อเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของรถไฟฟ้า 100% จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าส่งกำลังให้รถยนต์เคลื่อนที่ โดยเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น ไม่มีเครื่องยนต์น้ำมันเกี่ยวข้อง ดังนั้นระยะการขับจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ, ขนาด และประเภทของแบตเตอรี่ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุก

มาดูข้อดีของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้

  1. ประหยัดค่าน้ำมันได้เยอะแน่นอน รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 30-60% เพราะมีการใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาทดแทน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
  2. ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าช่วย สามารถขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) สามารถขับขี่ด้วยระบบไฟฟ้าได้ 100% จึงทำให้สามารถขับขี่ได้ไกลโดยไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน
  3. รักษ์โลก ลดการปล่อยมลพิษได้เยอะ การใช้งาน 2 ระบบของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) จะช่วยลดการปล่อยมลพิษในอากาศ ช่วยรักษ์โลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ระบบพลังงานไฟฟ้า
  4. ขับเคลื่อนได้ดี เดินทางไกลได้ไม่ติดขัด ด้วยการใช้งานแบบ 2 ระบบ ทำให้ขับขี่ได้ไกลยิ่งขึ้น สมรรถนะในการขับขี่ดี สามารถเลือกขับได้ทั้งระบบไฟฟ้า และ ไฮบริดทั่วไป
  5. สามารถเติมพลังงานไฟฟ้าได้ โดยสามารถชาร์จระบบไฟฟ้าได้เหมือนรถไฟฟ้า 100% สามารถชาร์จได้ง่าย ๆ ที่จุดชาร์จที่ให้บริการ หรือชาร์จกับปลั๊กไฟที่บ้านก็ได้เช่นกัน

มาดูข้อเสียของรถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) กันบ้าง

  1. ราคาที่สูงขึ้น รถปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) จะมีราคาที่สูงกว่ารถไฮบริดทั่วไป เนื่องจากเป็นรถที่มี 2 ระบบ สามารถใช้ได้ทั้งระบบน้ำมัน และระบบไฟฟ้า
  2. ปัญหาการชาร์จไฟ บางคนอาจพบเจอกับปัญหาสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ทั่วถึง แม้ในปัจจุบันจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้า และกึ่งไฟฟ้าแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รองรับทุกพื้นที่อยากทั่วถึง อาจทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานระบบไฟฟ้าในบางพื้นที่
  3. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอาจสูงขึ้น เนื่องจากเป็นรถ 2 ระบบ จึงอาจมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่สูงขึ้นกว่ารถไฮบริดทั่วไป ทั้งค่าไฟบ้าน ค่าซ่อมบำรุงกรณีเกิดเสีย หรือขัดข้อง จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รถ PHEV หรือรถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการขับขี่บนท้องถนน ทั้งช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันนี้ รถ PHEV ในไทยก็มีให้เลือกกันหลากหลายรุ่น ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับใครที่สนใจรถ PHEV รถไฟฟ้าที่เติมน้ำมันได้ ของแบรนด์ GWM สามารถทดลองขับรถ HAVAL H6 PHEV ได้แล้วที่ โชว์รูม GWM กระบี่ เราพร้อมดูแลและให้บริการท่าน.

 

 

HAVAL H6 PHEV

 

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ บทความ

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ

รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ต่างกันอย่างไร รถแบบไหนเหมาะกับคุณ

ในปัจจุบันโลกของอุตสาหกรรมรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเมื่อเทียบกับยุคก่อน ที่เรารู้แค่ว่ารถยนต์ต้องเติมน้ำมัน แต่ในปัจจุบันมีพลังงานทางเลือกอีกมากมายเนื่องจากน้ำมันเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ซึ่งพลังงานทางเลือกที่เรียกว่าเป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คงจะเป็นพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีอีกหลายประเภทเช่นกัน อย่างเช่นการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยให้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันทำงานน้อยลง โดยวันนี้ทาง GWM Krabi จะพามาทำความเข้าใจรถประเภทต่างๆ ทั้งรถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า ที่หลายๆ คนคงสงสัยว่าแล้วมันต่างกันยังไง

jolion h6 HEV

HAVAL JOLION HEV และ HAVAL H6 HEV

รถยนต์ไฮบริด Hybrid electric vehicle (HEV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์ไฮบริด Hybrid electric vehicle (HEV) คือรถยนต์ที่ใช้ขุมพลัง 2 ระบบ คือเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำงานประสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าจ่ายไฟโดยแบตเตอรี่ เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ซึ่งรถไฮบริดจะไม่สามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ แต่จะอาศัยการชาร์จไฟจากการเบรกรวมถึงการชะลอความเร็ว (Self-Charging) 

การทำงานของรถยนต์ไฮบริด เป็นการผสมผสานกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และระบบจะเลือกทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เองโดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดการขับขี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีข้อดีที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนและโลก คือ Zero Emission หรือก็คือรถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ

โดยกระบวนการทำงานนั้นขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือออกตัว มอเตอร์ไฟฟ้าจะเป็นกำลังหลัก โดยการส่งพลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน ซึ่งจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงอย่างมาก และเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ ทั้งระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้า จะทำงานร่วมกันในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่จำเป็น นอกจากนั้นพลังงานส่วนเกิน เช่น เมื่อขณะชะลอความเร็วรถ ยังถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งกลับไปสะสมในแบตเตอรี่ เป็นเหตุผลให้รถยนต์ไฮบริดไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟจากภายนอก

ขณะเร่งเครื่องยนต์เพื่อแซงหรือทำความเร็ว มอเตอร์ไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนเครื่องยนต์แบบเต็มกำลัง เพื่อส่งอัตราเร่งให้สูงสุดในพริบตา ลดปัญหาการรอรอบ หรือการเร่งไม่ขึ้น และยังทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้อีกทางหนึ่ง

HAVAL H6 PHEV

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) คือ รถที่สามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ และสามารถวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนได้ระยะทางไกลกว่ารถไฮบริด กระบวนการทำงานก็คล้ายๆ กับรถไฮบริด แต่จะต่างกันตรงที่รถปลั๊กอินไฮบริดนั้นสามารถชาร์จไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกได้ และจะมีแบตเตอรี่ขนาดที่ใหญ่กว่า ให้กำลังสูงกว่า และวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนได้ระยะทางไกลกว่ารถไฮบริดมาก

PHEV สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ได้ก็คือ รถยนต์ลูกผสมที่มีทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า หลายคนอาจคิดว่านี่คือรถ Hybrid แต่จริงๆ แล้วมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่าง PHEV และรถยนต์ Hybrid เล็กน้อย โดยรถยนต์ Hybrid ใช้กำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการออกตัว รวมไปถึงช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ และแหล่งพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เมื่อทำการเบรกระบบจะชาร์จไฟกลับเข้าสู่แบตเตอรี่ ขณะที่ PHEV เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เหมือนรถยนต์ Hybrid แต่ PHEV สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้ว่าต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าผสานเครื่องยนต์ (ไฮบริด) หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ก็จะมีการทำงานที่เหมือนรถยนต์ไฟฟ้าเลย และสามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหากแบตเตอรี่หมดและไม่สามารถหาที่ชาร์จไฟได้ สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริดเพื่อเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในรถยนต์ HAVAL H6 PHEV สามารถใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% ได้ไกลสุดถึง 201 กิโลเมตรต่อการชาร์จแบตเตอรี่เต็มเพียง 1 ครั้ง และเมื่อเครื่องยนต์ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลังรวมสูงสุด 326 แรงม้า แรงบิดรวมสูงสุดถึง 530 นิวตันเมตร รองรับการขับขี่ที่หลากหลาย พร้อมโหมดการขับขี่สูงสุดถึง 8 โหมด จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ Dual Clutch ขับเคลื่อนล้อหน้า รองรับน้ำมันสูงสุด E20 โดยมีแบตเตอรี่ขนาด 34.6 kWh พร้อมระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟ Plug-in Hybrid วิ่งด้วย EV Mode ไฟฟ้าล้วน ระยะทางสูงสุด 201 km. (มาตรฐาน NEDC)

ที่น่าสนใจคือระบบชาร์จไฟ CCS Type 2 combo (Combined Charging System) รองรับการชาร์จแบบการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC (0% – 100%) ประมาณ 6 ชั่วโมง ส่วนการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC ของ H6 PHEV คันนี้ อยู่ที่ (0% – 80%) ใช้เวลาประมาณ 35 นาที

ORA Good Cat GT

ORA Good Cat GT รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100%

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% Electric vehicle (EV) คืออะไร ทำงานอย่างไร

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% Electric vehicle (EV) คือ รถที่ใช้พลังงาน และชาร์จเพิ่มด้วย ไฟฟ้าอย่างเดียว รถ EV เป็นรถที่ใช้ไฟฟ้าเติมพลังงานเท่านั้น ซึ่งเข้าสู่ตัวรถผ่านสายเคเบิ้ล และไม่ต้องใช้น้ำมันหรือดีเซล ไฟฟ้าถูกเก็บในแบตเตอรีก่อนถูกใช้งานโดยมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถ ซึ่งจะแตกต่างจากรถไฮบริด ที่มีส่วนประกอบไฟฟ้าในระบบส่งกำลังผสานกับเครื่องยนต์น้ำมัน โดยรถในลักษณะนี้ไม่ใช่รถ EV เพราะประเด็นนี้สร้างความสับสนในช่วงที่ผ่านมา จากที่ผู้ผลิตบางราย (และแน่นอนว่านักวิจารณ์ด้วย) ได้เรียกอย่างผิดๆ ว่ารถไฮบริดเป็น รถ EV

ในปัจจุบันรถ EV กำลังถูกมองว่าเป็นเทรนด์รถที่กำลังจะเข้าทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมัน ซึ่งจังหวะนี้ก็ถือได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องยนต์น้ำมัน ไปสู่รถใช้พลังงานไฟฟ้า 100% จะเห็นได้ว่าระหว่างนี้ก็จะมีรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเข้ามาคั่นในช่วงนี้ เพื่อให้รอยต่อของการเปลี่ยนแปลงไม่กระทันหันจนเกินไป เนื่องจากรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ยังคงใช้เครื่องยนต์น้ำมันผสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่

โดยประโยชน์ของรถ EV ก็สำคัญมาก เมื่อเทียบกับรถใช้น้ำมันกับดีเซลธรรมดา เช่นเดียวกับรถไฮบริดที่ค่อยๆ เป็นที่นิยม รถ EV ไม่มีควันพิษจากท่อไอเสีย ซึ่งหมายถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในละแวกนั้นน้อยกว่า รถยนต์ไฟฟ้าทำงานอย่างเงียบมากแล้วขับง่ายสุดๆ กับกำลังที่มากพอสมควรในความเร็วต่ำ ที่สำคัญที่สุด รถเหล่านั้นชาร์จแบตที่บ้านได้ คุณสามารถ “เติมพลัง” รถ EV ด้วยปลั๊กสามตาในทุกที่ที่มีเต้ารับ ซึ่งแทบจะมีทุกที่ ขณะที่ผู้ใช้รถเลือกติดตั้งปลั๊กที่ช่ำชองกว่าเพื่อการชาร์จแบตที่เร็วขึ้น เป็นไปได้ที่สุดในการใช้การปรับแต่งเดิมกับตัวรถหรือในโรงรถ Faster chargers อย่างที่พบได้ตามลานจอดรถและปั๊มน้ำมัน ก็มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ รถ EV เช่นกัน

ในส่วนของ GWM เองก็มีรถยนต์ไฟฟ้า 100% วางจำหน่ายอยู่ด้วยเช่นกัน คือ Ora Good Cat โดยเจ้าเหมียว มาด้วยขุมพลังไฟฟ้า 100% ซึ่งประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchronous Motor ให้กำลังสูงสุด 143 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 210 นิวตันเมตร จับคู่กับระบบส่งกำลังไฟฟ้า จำกัดความเร็วไว้สูงสุดที่ 150 กม./ชม. ถ่ายทอดกำลังผ่านระบบเกียร์ ORA-Goddess Easy Drive ซึ่งมีให้เลือกแบตเตอรี่แบบ CTP ความจุ 47.8 kWh ให้ระยะทางวิ่ง 401 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และแบตเตอรี่แบบ CTP ความจุ 59.1 kWh ให้ระยะทางวิ่ง 501 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถชาร์จได้กว่า 80% (จากแบตเตอรี่คงเหลือ 30%) ภายในเวลาเพียง 30 นาทีตามมาตรฐาน NEDC (New European Driving Cycle) ของยุโรป

สนใจทดลองขับรถ GWM ได้ทุกรุ่น ติดต่อฝ่ายขาย : 099-310-8265
หรือกรอกฟอร์มทดลองขับ คลิกที่นี้ 

error: Content is protected !!